วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกโปร #9 ปั้นมังกร

    เกมที่ได้รับการคอมเมนต์เกมนี้เป็นกระดานที่แข่งในรอบแรกของรายการ Samsung Cup ครั้งที่ 9 (2004) เป็นการปะทะฝีมือกันระหว่าง Gu Li 7 ดั้ง (จีน) จากจีน กับ Hong Minpyo 3ดั้ง (เกาหลี) Gu Li นั้นเป็นนักหมากล้อมที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดของจีนในยุคนั้นเลยทีเดียว มีรูปแบบการเล่นที่เข้ากดดันคู่ต่อสู้ตั้งแต่ต้นเกมเลยทีเดียว ในกระดานนี้ Gu Liได้แสดงให้เป็นถึงพลังการโจมตี แม้ว่าพื้นที่จะตามหลังในเริ่มต้นแต่การโจมตีค้ากำไรไปเรื่อยจนในที่สุด Hong Minpyoต้องยอมแพ้ไป

     เรามาดูกระดานที่ Gu Li 7 ดั้ง (จีน) ปั้นกลุ่มหมาก Hong Minpyo 3ดั้ง (เกาหลี) ให้เป็นมังกรแล้วไล่สังหารกันครับ

รายการ  Samsung Cup ครั้งที่ 9 (2004)


ดำ Gu Li 7 ดั้ง (จีน)

ขาว Hong Minpyo 3ดั้ง (เกาหลี)


Komi 6.5
ผลการแข่งขัน B+R




จากรูปแบบการเล่นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า
1 Gu Li 7 ดั้ง สร้างกลุ่มหมากให้แข็งแรงได้ก่อน ในขณะที่ Hong Minpyo 3ดั้ง ยังมีหมากที่อ่อนแอเหลือถึง 2 กลุ่ม แม้พื้นที่จะนำแต่ก็สร้างเพิ่มไม่ได้

2  เมื่อมีหมากที่แข็งแรงกว่า Gu Li 7 ดั้งตัดสินใจสร้างโคะขึ้นอย่างชาญฉลาดในตาที่ 143 เล่นเอา Hong Minpyo 3ดั้ง เสียหลักเพราะอย่างไรก็ไม่มีทางสู้โคะได้

3 แม้ว่าพื้นที่จะตามแต่ Gu Li 7 ดั้ง ก็ยังทำการโจมตีไปเรื่อยๆอย่างเลือดเย็น สุดท้ายมาตัดหางมังกรไปเป็นของกำนัน กว่าพลิกกลับมานำได้ก็เล่นไปถึงตาที่ 193 เลยที่เดียว Hong Minpyo 3ดั้งไม่มีเวลาจะพลิกเกมกลับมาได้อีกแล้ว

    แม้เกมนี้จะว่าด้วยเรื่องการ Attacking จึงไม่มีอะไรดึงมาให้ดูเป็นพิเศษ แต่ตอนต้นเกมมีการกล่าวถึงโจเซกิหิมะถล่มใหญ่ (large nadare) ซึ่งเป็นโจเซกิี่ที่ค่อนข้างซับซ้อนเลนกันหลายหมาก เลยอยากเอามาให้ดูกัน 

เป็นโจเซกิที่มีการต่อสู้ที่มุมอย่างน่าสนใจ การเล่นเพื่อรักษากลุ่มอ่อนแอก็มีให้เห็น แทบจะเรียกได้ว่าใครศึกษาโจเซกินี้อย่างละเอียด น่าจะพัฒนาการต่อสู้ได้เป็นอย่างดี (ผมแปลมาเกือบ 2 อาทิยต์เลยทีเดียว มีอะไรผิดพลาด ทิ้งคอมเมนต์ไว้ได้นะครับ)




Credit Kogo's Dictionary

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกโปร #8

       ผมได้ดูเกมโปรที่ได้รับการคอมเมนต์มาแล้วเกมหนึ่ง ความน่าสนใจของเกมนี้อยู่ที่แนวคิดการสร้างโมโยของ Yoo Changhyuk 9ดั้งจากเกาหลี จากการแลกเปลี่ยนมุมที่ซับซ้อนมาก แต่อย่างไรก็ตามคู่แข่งของเค้าคือ Yamashita Keigo 8ดั้ง จากญี่ปุ่น เืมื่อ Yoo เล่นพลาดเพียงหมากเดียว Yamashita ก็เก็บฉวยโอกาสเข้าทำลายโมโยทันที เกมนี้เป็นการแข่งในรายการ CSK Asian Cup ครั้งที่ 2 (2003)

ดำ Yoo Changhyuk 9ดั้ง(เกาหลี)

ขาว Yamashita Keigo 8ดั้ง (ญี่ปุ่น)

komi 6.5
ผล W+R



โจเซกิอันนี้ซับซ้อนหมากและน่าสนใจเพื่อสร้างโมโยอย่างแท้จริง

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกโปร #7 :Defence for win

 ผมตั้งชื่อให้เกมนี้กว่า Defence for win ซึ่งเป็นเกมการแข่งขัน Korean LG Oil cup ครั้งที่ 8 ในปี 2007 ระหว่าง พระพุทธรูปหิน  Lee Changho 9ดั้ง กับ Park Yeonghun 4 ดั้ง (ปัจจุบัน 9 ดั้ง) รูปเกมไม่มีทั้งโจเซกิที่แปลกใหม่ ไม่มีการ Fighting กันมากมาย แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากกลับเป็นจังหวะการป้องกันตัวของทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่า ทั้งคู่มีพลังในการ End game สูงมาก และการเปิดเกมเป็นไปในการมุ่งครองพื้นที่ คนที่ชื่นชอบการต่อสู้อาจจะดูไม่น่าสนใจ แต่ไม่ใช่ทั้งคู่ไม่คิดจะสู้กัน แต่เนื่องจากโลห์อันแข็งแกร่งของทั้งคู่จึงยากจะเจาะได้

รายการ Korean LG Oil cup ครั้งที่ 8

ดำ Lee Changho 9ดั้ง 
ขาว Park Yeonghun 4 ดั้ง


Komi 6.5
B+1.5

 

จังหวะการเลือกที่จะป้องกันโดยการละทิ้งการบุกมีเห็นตลอด การ Openning ก่อนที่ Lee Changho จะเฉือนชนะด้วยEndgame เพียงเล็กน้อย เรามาดูจังหวะเหล่านั้นกัน

จังหวะที่ 1 จังหวะที่ Park เลือกปิดมุมก่อน และ Lee ตอบรับด้วยการเดินล้อมด้วยหมาก 29 เพื่อช่วยดำ 15 ไปในตัว โดยไม่มีใครสนใจมุมขวาบนที่ยังเปิดกว้างอยู่

จังหวะที่ 2 LEE เลือกจะเล่นหมากดำ37 เพื่อป้องกันการบุกรุกที่ A มากกว่าการรีบไปลดทอนโมโยขาวที่ B

จังหวะที่ 3 LEE เล่นปกป้องพื้นที่ด้านล่างกระดานด้วยการเตะที่ 47 ก่อนที่จะเดินขยายออกมาที่ X

จังหวะที่ 4 Park เลือกที่จะทำให้กลุ่มที่มุมล่างซ้ายแข็งแรงก่อนแล้วปล่อยให้ดำที่มุมบนขวาขยายออกมาแทนที่จะไปล้อมดำไว้ที่ X

เป็นการเล่นป้องกันที่น่ากลัวเสียจริง

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

World Mind Sport Games ครั้งที่ 1:ดวงดีก็ชนะโปรได้

    บางครั้งการเล่นหมากล้อม คติที่ว่า นำแล้วจงรีบเข้า Endgame หรือ รวยแล้วไม่ท้าตีท้าต่อย ซึ่งใช้ได้กับในชีวิตประจำวันของผู้ได้เปรียบ เพราะสิ่งที่ผู้ได้เปรียบควรจะกลัวมากที่สุดคือ สิ่งที่เรียกว่า "ดวงเหนือฝีมือ"
     ที่กล่าวมาแบบนี้เพราะเกมที่ Alexandre Dinerchtein 3P คอมเมนต์ไว้ใน Goama 138 เ็ป็นการแข่งขันในรายการ World Mind Sport Games ครั้งที่ 1  ประเภทหญิงเดี่ยว ซึ่งเป็นการพบกันระหว่าง

ดำ  Natalia Kovaleva 5ดั้งสมัครเล่น (รัสเซีย)

ขาว Mannami Kana 4DP (ญี่ปุ่น)


Komi 6.5
ผลคือ B+6.5
ฝีมืออันแตกต่างกันมากแต่เพราะเหตุใด Mannami Kana 4DP จึงพ่ายแพ้ได้




จะเห็นได้ว่าบางครั้ง การดื้อดึงจะเล่นกับโปรต่อ และด้วยความมุ่งมั่นมีสมาธิในเกมก็ทำให้พลิกชนะได้เช่นกัน

แต่เกมนี้ก็ซ่อนโจเซกิที่เล่นกันเพียงมุมเดียวแต่ขาวเล่นออกมาน่าสนใจทีเดียว เล่นเอาดำเสียศูนย์ไปตั้งแต่ต้นเกมเลยทีเดียว เรามาศึกษา Sword of Muramasa เพิ่มเติมกันครับ



ที่มา Goama 138 http://gogame.info/ คอมเมนต์เกมโดย Alexandre Dinerchtein 3DP

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

4th Korea Prime Minister Cup 2009: Insei เกาหลี เหนือ จีน

     4th Korea Prime Minister Cup 2009 เป็นรายการสมัครเล่นที่ยิ่งใหญ่อีกรายการ ซึ่งในครั้งนี้มี น้องบอท ของไทยเข้าร่วมและได้อันดับ 10 ด้วย แต่เกมที่ได้รับการคอมเมนต์ในครั้งนี้เป็นเกมระหว่างนักหมากล้อมเกาหลี Hong Suk SONG แข่งกับ Chen WANG จากจีน โดย Hong Suk SONG เฉือนชนะไป 3.5 แต้มความแชมป์ไปครองได้




ดำ Song Hongsuk, 7ดั้ง (เกาหลี) Insei มือ 1 ของเกาหลี

ขาวWang Chen, 7ดั้ง (จีน)
Komi 6.5
ผล ฺB+3.5



เกมนี้สิ่งที่น่าศึกษาไม่ใช่การเดินโจเซกิที่ซับซ้อน แต่เป็นการเลือกและบีบให้ใช้โจเซกิ เพื่อให้เข้ากับสถานะการที่ถูกต้อง เช่น

การละทิ้ง ไม่เข้ามุมของดำ 13 แล้วหันไปตีโดยตาม้าที่มุมซ้ายบนแทน

รูปแสดงโครงสร้างดำที่ถูกบีบให้ราบลง ถ้าเลือกการเข้ามุมที่ 3-3

การตีขนาบที่ดำ 17 และเข้ามุมทันที บังคับขาวให้ไม่สามารถเลือกโจเซกิอิทธิพลได้

รูปแสดงกรณี ขาวเลือกโจเซกิ อิทธิพล แล้วพลังของกำแพงถูกลดทอน

การตีหัวของขาว 24 บังคับให้ดำต้องเข้ามุม ส่งผลให้ขาวได้โมโยขนาดใหญ่และดำได้ 4 มุม ซึ่งไม่ดี

รูปแสดงโมโยที่ขาวควรจะได้

สุดท้ายขาวพลาดจากการเล่น overplay 2 ครั้ง ที่ 42 ไม่ยอมเชื่อมหมาก และ 48 ล้อมในขณะที่ไม่พร้อม ส่งผลให้ดำวิ่งไปขโมยบ้านได้ เลยทำให้แพ้ไปในที่สุดเพียง 3.5 แต้ม

เกมนี้ทำใ้ห้รู้ว่า การเลือกโจเซกิ และการเชื่อมหมากสำคัญไฉน

มีโจทย์แถมท้าย จากเกม กรณีที่ดำ 69 หนีไปเล่นที่อื่น ขาวจะฆ่าดำได้ที่จุดใด





ที่มา Goama 139 http://gogame.info/ 
คอมเมนต์เกมโดย Alexandre Dinerchtein 3DP


วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกโปร #6

     พูดถึงนักหมากล้อมญี่ปุ่นแล้วคงรู้จักกันดีจากกระแสของฮิคารุเซียนโกะ แต่ในระดับนานาชาติแล้วนักหมากล้อมญี่ปุ่น 9 ดั้งแทบจะไม่สามารถฝ่าด่านนักหมากล้อมชาติคู่แข่งอย่าง จีนและเกาหลีได้เลยแม้ว่าเจอกับดั้งต่ำ (1-3ดั้ง)  เหล่าเทพแห่งญี่ปุ่นยังแทบเอาตัวไม่รอด แต่ในรายการ Nongshim Cup ครั้งที่ 6 ในปี 2004 มีเกมที่นักหมากล้อมญี่ปุ่นโค่นนักหมากล้อม 9ดั้งของเกาหลีได้ ด้วยความพริ้ว หลังจากเิปิดเกมตามหลังในเกมนี้กัน

รายการ  Nongshim Cup ครั้งที่ 6 (2004)
ดำ Yoo Changhyuk 9D เกาหลี


ขาว Takao Shinji 8D ญี่ปุ่น

komi ุ6.5
ผล ขาว+4.5




จุดที่น่าสนใจของเกมคือ

1 การเปิดเกมของ Yoo Changhyuk ต้องยอมรับว่าเหนือกว่าใน 2 มุมแรกและทำให้Takao Shinji ต้องเลือกที่จะบุกและโดน 3 เหลี่ยมโง่คว้าชัย (อ้างอิงจากhttp://www.gocomment.net/?p=1180) ทำแต้มออกนำไปก่อนเล็กน้อย

 2 Takao Shinji อาศัยลักษณะหมากที่ผิดพลาดของดำในตาที่ 83 ตัดสินใจตัดสวนทันที เล่นเอา Yoo Changhyuk เสียไปหลายแต้ม
3 Yoo Changhyuk เข้าใจผิดว่าล้อมจับ 2 เม็ดได้แล้วแต่ Takao Shinji เลือกที่จะอ่านเกมว่า ยอมให้มุมบนขวาสะเทือน แล้วพริ้วให้รอดท่ามกลางกองกำลังของดำ

4 เมื่อมุมเสียหาย แทนที่จะเสียดาย Takao Shinji กลับเลือกเทขายมุมทิ้งไปทั้งกลุ่ม โดยเล่นหมากที่ 102,108
 เป็นการตัดสินใจที่เด็ดขาดมาก อาจจะคิดล่วงหน้ามาตั้งแต่ช่วยหมาก 2 เม็ดแล้วก็เป็นได้



วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกโปร #5

          Chen Yaoye 9ดั้งอายุน้อยที่สุดในประว้ติศาสตร์นักหมากล้อมจีนได้หลังจากการโค่น พระพุทธรูปหิน Lee Changho แห่งเกาหลีไปได้ในรายการ the international LG Cup ก่อนไปพ่ายแก่ Gu Li รอบชิงชนะเลิศ ด้วยวัยเพียง 17 ปี


             ในส่วนของ Openning จากบันทึกโปรนี้ ได้ได้ค้นเจอพลังความสามารถของ Chen Yaoye ขนะที่เป็น 3 ดั้ง ซึ่งตอนนั้นอายุเพียง 14 ปี ก็ได้เริ่มเก็บกวาดยอดฝีมือ 9 ดั้งระดับชาติอย่าง Chang Hao 9ดั้ง ในรายการ China City League เราลองมาดูชั้นเชิงของ Chen Yaoye อัจฉริยะแห่งวงการหมากล้อมจีน ในวัยเพียง 14 ปีกัน

รายการ China City League 2003

ดำ: Chen Yaoye 3ดั้ง ทีมปักกิ่ง



ขาว: Chang Hao 9 ดั้ง ทีมเชี่ยงไฮ้


Komi 7.5
ผล B+R



จุดของ Openning เกมนี้น่าศึกษา 2 จุดใหญ่ๆคือ
1 การเล่นโจเซกิแบบใหม่ ที่ทำให้ Chang Hao รับผิดพลาดจนทำให้ ดำที่บุกเข้าไปแสดงศักยภาพออกมาในภายหลัง ประมาณตาที่ 181 และ 209 ขาวเสียดินแดนเพิ่มไปอีก


2 การเลือกเล่นหมากจาก 4 วัตถุประสงค์ (โจมตี ป้องกัน สกัดกั้น ขยาย) ในตาที่ 52 ของขาว

     จุด A เป็นการขยายพื้นที่และล้อมโจมตีดำจากกลุ่มบน แต่ไม่เป็นการป้องกัน และสกัดกั้น เนื่องจากขาวเดินออกจากกลุ่มที่แข็งแรง

     จุด B ถ้าขาวได้เล่น จะเป็นการ ป้องกัน สกัดกั้น และ โจมตีกลุ่มดำไปด้วยในตัว แต่ดำได้เล่นบริเวณนี้จึงเป็นการขยาย โจมตีขาว พร้อมทั้งการ ป้องกันกลุ่มดำที่อ่อนแอไปด้วย ทำให้การเลือกตานี้ต้องใช้มากกว่า 2 เหตุผล น่าสนใจทีเดียว

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

Trickplay จาก Kogo dictionary

พอดีได้เห็นเจ้าของเวปไซด์ http://www.gocomment.net น้องฮอลได้นำเอา Trick move มาลองเล่นแสดงให้เห็นถึงการศึกษาหมากใหม่อย่างต่อเนื่อง ผมเลยเอา Trick play อันนี้ดึงออกมาให้ได้ศึกษากัน ไม่ซับซ้อนซ่อนกลมากเหมือนอันที่ผ่านๆมา แต่ศึกษาไว้ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์

Pattern ของ Trickplay นี้ครับ


ดำ 11 เบียดกระหน่ำซ้ำไปอีกครั้ง แน่นอนละขาวต้องรับด้วยการตัดแต่จะตัดตรงไหนกันละ

คิดก่อนดูเฉลย ไม่ซับซ้อนแต่น่าสนใจ^^




เท่านี้น้องฮอลก็ไปเลือกใช้ทริกนี้กับคนที่ไม่ได้อ่าน Blog พี่เอาละกันน่า ^^ credit kogo's dictionary

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกโปร #4

เกมนี้มาจากรายการ World cup 2004  แห่งหมากล้อมนั่นก็คือ 5th Ing cup  นั่นเอง
นักหมากล้อมตัวแทนชั้นนำแต่ละประเทศเข้าแข่งขันรายการที่ขึ้นชื่อได้ว่ามี Komi สูงที่สุด คือ 8 แต้ม และให้ปรับคะแนนเพื่อทำการขอซื้อเวลาเิพิ่มได้

คู่แข่งที่นำมาคอมเมนต์คือ
ดำ Kong Jie 7D (จีน)


ขาว Lee Sedol 9D (เกาหลี)

Komi 8.0


ผลคือ Kong Jie โค่น Lee Sedol  B+3




และปิดท้ายด้วยโจเซกิที่ Kong Jie นำมาใช้ที่มุมขวาบน แม้ลำดับขาวจะไม่เป็นไปตามโจเซกิ แต่ ดำก็เดินเพื่อให้เป็นไปตามโจเซกินี้ครับ น่าสนใจที่เดียว ถ้าดำขายมุมให้ขาวจะเป็นอย่างไร

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกKGS #3

วันนี้เราได้การคอมเมนต์เกมจากการผู้เล่นใน KGS ที่เล่นตั้งแต่ปี 2003  นั่นคือ

ดำ Empiror 6D  ปัจจุบันยังคงเล่นอยู่ในKGS (เหลือ 5 D)
ขาว heboman  7D แต่คนนี้อาจจะเปลี่ยนชื่อไปแล้ว

Komi 0.5

เป็นเกมที่น่าสนใจเพราะ ดำออกตัวได้ดีกว่าขึ้นนำขาวไปก่อนและมีโอกาสชนะในการเปิดเกม แต่ในจังหวะท้ายๆของ การเปิดเกมขาวได้โต้ตอบหมากในตาที่ลุ้นแรงออกมา และดำยังคงผิดพลาดต่อเนื่องจึงทำให้โดนจับกินกลุ่มที่มุมและยอมแพ้ไปในที่สุด




อันนี้กราฟข้อมูลของ Empiror ในKGS KGS rank graph for Empiror

สิ่งที่ได้เรียนรู้

โจเซกิที่มุมขวาเป็นโจเซกิที่น่าสนใจทีเดียว การเล่นโจเซกิใหม่ๆทำให้ขาวแกว่งไปเลย ออกแนวทริกมูพไม่ได้ก็เสียเยอะเลย ต่อด้วยการไม่ต้องรับหมากขาวที่เชื่องช้าในตาที่ 36 ก็เป็นที่น่าสนใจ และจุดสำคัญที่ต้องปกป้องและจู่โจมที่ขาวได้ไปคือ จุดที่ M17 เป็นการพลิกเกม จบด้วยการเดินหมากเป็นหมากตายของกลุ่มซ้ายล่าง การสกัดจุดที่ A6 ทำให้ดำตายสนิท

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

Opening จากบันทึกโปร #2

ครานี้เอามาจากเกมที่มีการคอมเมนต์ไว้ รู้สึกว่าแบบนี้จะดูเข้าใจกว่ามานั้งคอมเมนต์เอง อิอิ
เป็นการแข่งขันในเกาหลีรายการ LG Refined Oil Cup ครั้งที่ 8 ปี 2003 รอบรองชนะเลิศ ระหว่าง

ดำ: Cho Hanseung 6D  ตอนนั้นอายุประมาณ 21 ปีได้รองแชมป์รายการนี้ ปัจจุบัน 9 D เรียบร้อยโรงเรียนเกาหลีไป


ขาว: Choi Wongyong 4D

Komi 6.5
Result  B+7.5


 


เรามาดูโจเซกิ เล่นที่มุมซ้ายล่างกันครับ