วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #24: หมากหยั่งเชิง

                ช่วงใกล้สิ้นปีมีหลายรายการแห่งหมากล้อมให้ได้ดูกันเยอะทีเดียว ผมได้นั่งดู Sumsung Cup ระหว่าง Gu Li กับ Lee Sedol เป็นเกมที่สูสีและสนุกมาก หวังว่าจะมีเกมของพวกเค้าได้รับการคอมเมนต์ให้เราได้เข้าใจยิ่งขึ้นกัน เกมวันนี้เป็นเกมจะ ING CUP ครั้งที่ 5  ในปี 2004 เป็นเกมที่มีคอมเมนต์ไม่เยอะ เนื่องจากการเปิดเกมที่สร้างช่องว่างของคะแนนห่างกันเกินไป แต่ในการคอมเมนต์กลับมีจุดๆนึงที่น่าสนใจในการใช้เล่นหมากล้อม นั้นคือหมากหยั่งเชิง หรือ หมากถามทาง รวมไปถึงการไปเข้าร่วมฟังการสนธนาระหว่างดั้งชั้นนำของไทยใน KGS เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เรามาดูกันครับ

หมากขาว Ma Xiaochun 9D

หมากดำ Choi Cheolhan 8D

รายการ  INK CUP ครั้งที่ 5
รอบที่ 2
Komi 8
Date 2004-04-22

Commented game record



Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
http://www.go4go.net
Translator By WalgnoK

เรียนรู้จากบันทึกหมาก
หมากหยั่งเชิงในบันทึกหมากของเกมนี้ เริ่มจากจุดนี้ 
หมากดำ 51 เข้าไปหยั่งเชิงดูการตอบรับของขาวที่ 3-3 ขาวตอบรับด้วยการปิดกั้นไม่ให้ออกมาเชื่อมกลุ่มด้านนอก ด้วยหมาก 52 ดำรับรู้การตอบรับนี้แล้วจะทำอย่างไรต่อไป

แนวคิดพื้นฐาน : รอดด้านใน
เป็นแนวคิดธรรมดามากที่จะเดินให้รอดด้านใน แต่ผลที่ออกมา ดำสามเหลี่ยมด้านนอกอ่อนแอลงอย่างมาก

หมากบังคับ
เป็นหมากบังคับโดยการเข้าประชิด เพื่อบังคับให้ดำต้องตอบรับ

ล่อซ้ายจู่โจมขวา
ถ้าขาวรับด้วยการเบียดที่ 1 ดำจะขนาบประกบที่2อีกครั้ง และเมื่อขาวเชื่อม ดำจะเดินออกจากมุมโดยมีหมากดำ 2 สนับสนุน

เกมจริง

            แม้ว่าขาวจะไม่ตอบรับตามรูปก่อนหน้านี้ แต่ขาวก็หาหมากดีๆไม่ได้เช่นกัน ผลคือ ดำรอดโดยที่ดำกลุ่มด้านนอกได้เสริมความแข็งแกร่งได้อีกด้วย

          ในเกมนี้  Choi Cheolhan เอาชนะไปได้เพียง 3 แต้ม แต่อย่าลืมว่ามี Komi ถึง 8 แต้มทีเดียวในรายการนี้ ดำต้องมีความพยายามที่จะรุกเร้ามากกว่าปกติ และเค้าก็ทำได้ดี 

        เรามาดูตัวอย่างหมากหยั่งเชิงที่ Kel2ol2o [5d] (ดั้งเพียว) กับ PlabuRiser [5d] (ดั้งกมล) คุยกันใน KGS

Start!!
เริ่มต้นที่ ขาว 38 บุกเข้าพื้นที่ของดำ และ ดำตีหัวด้วยหมาก 39

แนวคิดเริ่มต้นของขาว
เดินให้รอดในบ้านดำ แต่เมื่อขาวรอดแล้ว มุมขาวจะโดนพังด้วยหมากดำ 18

ลองอีกแบบ
มุมของขาวยังคงพัง และดำก็ได้กำแพงไปอีก


ขาวจะทำอย่างไรกับการแลกเปลี่ยนนี้ดี
ขาวหยั่งเชิงดำด้วย N3 ดำต้องเลือกรับระหว่าง A และ B

ปิดทางกลับด้วย B
ขาวเล่นตามรูปแรก แต่คราวนี้ หมากขาว N3 ทำให้ขาวรอดข้างล่างได้ใหญ่ขึ้น

ต้องมาปิดที่ A
บันได:แม้ว่าบันไดจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่บันไดก็เป็นของขาว

ดำลองฝืนสู้
ขาวพอใจที่จะถอยกลับ และดูเหมือนว่าขาวจะพอแล้วจึงกลับมาเล่นปิดมุมที่ขาว 8

ขาวหยั่งเชิงN3 น่าสนใจมาก  ทำให้ดำยากที่จะหาทางรับดีดีได้เลย

Start 2!!
ดำเริ่มด้วยหมากหยั่งเชิง 9 ที่ยอดเยี่ยมทันที

เมื่อขาวตอบรับที่ 10: ดำกระโจนเข้ามุมด้านขวา และด้านซ้าย ต่อด้วยการตัดหมากที่ 38 ยกให้ขาวกินและเดินสร้างรูปร่างออกด้านบนอย่างสวยงาม

เปรียบเทียบกับไม่ได้เดินหมากหยั่งเชิง
หมากดำ  25 เล่นเหมือนกับหมากดำ 9 หลังจากการแลกเปลี่ยนที่มุมทั้ง 2 ไปแล้ว แต่คราวนี้ขาวคงไม่ยอมให้ดำออกไปได้ง่ายๆ ด้วยหมาก 26 หรือแค่เล่นให้แกร่งที่ A ก็ได้

    หมากหยั่งเชิงถือเป็นวิธีคิดชั้นสูงของนักหมากล้อมเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องคิดจากรูปแบบหมากพื้นฐาน จนเข้าไปถึงการเพิ่มหมากที่ซับซ้อนให้มากขึ้นแล้วนำมาประกอบกัน โดยเน้นที่ไปที่การใช้หมากบังคับอย่างต่อเนื่อง และ ลำดับของเวลา จะก่อให้เกิดผลที่ต่างกันได้เป็นอย่างมาก หวังว่าเราคงได้มีโอกาสเรียนรู้ หมากหยั่งเชิงของโปรอีกบ่อยๆ และได้ใช้ในเกมจริงของเรากันนะครับ

ขอขอบคุณ ดั้งเพียวและดั้งกมล ที่ให้เราได้แอบเขาฟังการสนธนาในครานี้ ^^



วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Go Commentary #5: Gu Li vs Lee Sedol – Quadruple ko – 17th Samsung Cup

      บทความแปลจาก Go commentary มาอีกแล้วนะครับ เกมนี้เป็นเกมของ  Lee Sedol อีกครั้ง ซึ่งเกมของเขาส่วนใหญ่เป็นเกมตัดสู้กัน โดยใช้การอ่านหมากระดับสูงทำให้การดึงจุดเด่นมาคอมเมนต์นั้นเป็นเรื่องยากทีเดียว เกมนี้ต้องมาเจอกับคู่ปรับจากจีนอย่าง Gu Li เรามาดูกันว่าพวกเค้าต่อสู้กันสนุกเพียงไร


      กระดานนี้มาจากรอบ 32 (รอบแบ่งกลุ่ม) ของรายการ Samsung Cup ครั้งที่ 17 เป็นกระดานระหว่าง Lee Sedol (9p) และ Gu Li (9p)

     ในรอบแบ่งกลุ่ม Lee Sedol ได้เอาชนะ Nie Weipin และ Gu Li ก็เอาชนะ Cho U ไปได้ในก่อนหน้ากระดานนี้

      รอบแบ่งกลุ่มของรายการSamsung Cup  ใช้ระบบแพ้สองครั้งคัดออก และผู้ชนะสองท่านจะเข้าสู่รอบต่อไป

      นี่คือกระดานครั้งที่ 29 ในการพบกันระหว่าง Lee และ Gu  สถิติของทั้งคู่เสมอกันอยู่ที่ 14-14 กระดาน เกมการเล่นของพวกเขาที่ดูน่าสนใจและตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ
มาดูกระดานนี้กัน

 Lee Sedol 9 dan (คนหน้า) and Gu Li 9 dan (คนไกลด้านขวา)


Commented game record:Gu Li vs Lee Sedol




   
     เกมนี้ได้รับตัดสินให้เสมอหลังจาก จตุรโคะเกิดขึ้นที่นี่ 

    เป็นครั้งแรกที่เกิดจตุรโคะขึ้นในการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นเรื่องยากมากที่จะได้เห็นจตุรโคะและคู่แข่งที่เหลือเชื่อนี้ได้สร้างผลงานชิ้นเอกขึ้นมาด้วยกัน

    กระดานนี้มีจุดเด่นอยู่ที่รูปร่างหมากที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่เริ่มเกมและหลังจากการสู้รบแรกเริ่มต้นขึ้นที่ A พวกเขาไม่เคยหยุดต่อสู้กันจนกระทั่งจบเกม

     กระดานนี้จะถูกจดจำไปอีกนานในฐานะผลงานชิ้นเอกอันยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์ของโกะ และพวกเราโชคดีที่ได้เป็นสักขีพยาน

    ผม(Younggil) หวังว่าคุณจะเข้าใจกระดานนี้มากขึ้นหลังจากได้อ่านการคอมเม้นนี้และยินดีที่จะทิ้งคอมเม้นท์ไว้ถ้าคุณมีคำถามใดๆ

ขอขอบคุณครับ
An Younggil 8p
http://gogameguru.com/


เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-gu-li-vs-lee-sedol-quadruple-ko-game-17th-samsung-cup/
Credit : http://gogameguru.com/
Translator Plam EngMajor


       เกมนี่เป็นเกมที่แสดงถึงพลังในการอ่านหมากล่วงไปข้างหน้าหลายตา การเกิดจตุรโคะนี้ อาจจะไม่ได้เกิดจากการเล่นเพื่อเอาตัวรอด แต่น่าจะเกิดจากความมั่นใจว่ารอด และรอดูท่าทีว่าคู่แข่งจะพลาดพลั้งหรือไม่ เมื่อทั้งคู่ไม่พลาดจึงเกิดการเสมอกันขึ้น

   แม้ว่าผลการแข่ง Re Match จะเป็น Gu Li  ที่เอาชนะไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม  Lee Sedol ก็ผ่านคู่แข่งคนอื่นๆมาได้จนผ่านรอบแบ่งกลุ่มตาม  Gu Li เข้ามาจนกระทั้งผ่านเข้ารอบชิงไปเจอกันอีกครั้ง เรารอติดตามชมกันว่าเกมในรอบชิงจะสู้กันสนุกเพียงไรในรายการ Samsung Cup ครั้งที่ 17 ของปีนี้

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Go Commentary #4: Lee Sedol vs Jiang Weijie – 1st Bailing Cup

     เกมนี้มีขึ้นในรอบที่สองของการแข่งขันรายการ Bailing Cup ครั้งที่ 1 โดยเป็นเกมระหว่าง Lee Sedol (9P) กับ Jian Weijie (9P)

     เกมนี้เป็มเกมแรกที่ทั้งคู่เจอกัน Lee Sedol ขณะนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่สองในเกาหลี และ Jian Weijie เป็นอันดับที่ 4 ในประเทศจีน

Lee Sedol

          Lee เคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ในเกาหลีเป็นเวลา 27 เดือนติดต่อกันและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่นโกะที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกเป็นเวลาหลายปี
Lee Sedol 9 ดั้ง


Jiang Weijie

            ในขณะเดียวกัน Jiang ได้ชนะรายการ LG Cup ครั้งที่ 16 ในช่วงต้นปี2012 โดยการเอาชนะ Lee Changho และเขาก็ได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นชั้นแนวหน้าของโลก
Jian Weijie 9 ดั้ง

Commented game record:Lee Sedol vs Jiang Weijie



[link] Eng.raw
       ดำมีเพียงจุดขู่โคะที่เดียวที่ A แต่ขาวยังมีอีกสองจุดที่ B และ C ดังนั้น Lee จึงยอมแพ้ตรงนี้

       ขาวเปิดเกมได้ดีกว่าหลังจากขาวตัดที่ D ขาวยังนำอยู่แต่ดำไล่ตามทันหลังจากเล่นที่ E และเกมก็พลิกเมื่อกลุ่มดำด้านบนรอด

       ดำเล่นผิดพลาดหลายครั้งที่ F และ G และเกมก็พลิกอีกครั้ง  Jiang เล่นได้อย่างสมบูรณ์แบบหลังจากการสู้โคะที่ H และในที่สุดก็ชนะกระดาน

       กระดานนี้เริ่มต้นด้วยการสู้อย่างเข้มข้น ดุเดือดและก็ไม่หยุดสู้กันจนกระทั่งจบเกม

       Jiang Weijie เอาชนะ Lee Sedol และเข้าสู่รอบต่อไป แต่เขาก็แพ้ให้กับ Park junghwan (9p) และไม่ได้ผ่านเข้ารอบต่อไป

ขอขอบคุณครับ
An Younggil 8p
http://gogameguru.com/

เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-lee-sedol-vs-jiang-weijie-1st-bailing-cup/
Credit : http://gogameguru.com/
Translator : Plam EngMajor


Add-on

         เกมนี้เป็นเกมที่ Fighting กันทั้งเกม ทำให้เกิดจุดที่น่าสนใจคือ นอกจากการกลุ่มที่ตายกลุ่มสุดท้ายบริเวณมุมล่างขวาที่เป็นจุดตัดสินเกมแล้ว ไม่มีกลุ่มอื่นๆที่ตายอีกเลย นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงวิธีการต่อสู้อย่างถูกต้อง และสิ่งๆนึงที่ทำให้กลุ่มแต่ละกลุ่มรอดพ้นอันตรายไปได้ นั่นคือ Aji  ที่ทำให้อีกฝ่ายโจมตีได้ลำบาก เรามาดูการต่อสู้กันทั้งเกมที่ทิ้ง Aji ไว้ล่อลวงกันครับ

เริ่มต้นกันตั้งแต่มุมแรกกันเลย

ดำโดนล้อม : หลังจากที่ ดำ19 เล่นพลาด ขาวก็ทำการตัดเข้าล้อมดำทันที ดำมีทางเลือกแค่ 2 ทางเท่านั้น
 
Aji #1 :เพื่อปิดกั้น
ดำเลือกเล่นที่ B : ตัดและจับกินขาว 2 หมากเพื่อรอดในมุม ขาวได้กำแพงที่ใหญ่แล้ว อีกทั้ง Aji ขาว 2 หมากในมุมยังส่งผลให้ A เป็นหมากมือนำ ที่ทำให้มุมของดำลดขนาดได้ในภายหลังอีกด้วย

Aji # 2 :เพื่อรอดในมุม
     ดำมี Aji 2หมากที่ตัดสินใจตัดออกมา หลังจากที่ดำเบียดขาวเพื่อสร้างรอดและดูท่าทีของขาว ขาวจะรับอย่างประมาทไม่ได้เลยทีเดียว


ขาวอาจพลาดพลั้งได้:ขาวเดินต่อออกที่ B ตามลักษณะ หมาก แต่เมื่อดำเบียดเข้าไปในมุมเมื่อขาวพยายามจะฆ่าดำ ดำกลับตัดที่ 14 และเกิดโคะที่ขาวยากต่อต้าน

Aji#3 : เพื่อสร้างอิทธิพลทดแทน
      หลังจากขาวรับมือที่มุมล่างซ้ายเป็นที่เรียบร้อย ขาวก็กลับมาตัดหมากดำสู้กันอีกครั้ง ลักษณะหมากดำดูอ่อนแอมากระหว่างการต่อสู้ แต่มี Aji ของดำอยู่ 2หมาก ถ้าขาวตัดที่ B ดูละ


แปรผันสู่อิทธิพล :ดำพร้อมยอมแลกหมากกลุ่มตรงกลางกับอทธิพลด้านบนและจากความแข็งแกร่งทางด้านขวาก็ทำให้เกมของดำยังดูดีอยู่เลยทีเดียว เนื่องจาก กลุ่มตรงกลางยังเป็น Aji  ที่มีลมหายใจมากพอดูเลยทีเดียว

Aji#4 : เพื่อมือนำ
ทิ้งมือไปเล่นที่อื่น:ขาวเดินหมากทิ้งไว้ 2หมากในบ้านดำ ทำให้ขาวกลุ่มนี้รอดได้จากความตายจากการเดินที่ A หรือตัดที่ O ส่งผลให้สามารถทิ้งมือไปตัดที่ X ได้

Aji #5 : เพื่อเกิดหมากบังคับ
      ดำเดินแยกเป็นกลุ่มอ่อนแอ 2 กลุ่มแล้ววกกลับมาช่วยกลุ่มตรงกลางในรอดโดยปล่อยให้หมากดำ 4 หมากบริเวณมุมขวา โดยล้อมและกลายเป็น Aji ไป แต่ถ้าขาวลองทิ้งมือไปลดพื้นที่ทางด้านซ้ายของดำที่ Bจะเกิดอะไรขึ้น


ขาวพังทลาย: ดำตัดขาวออกเป็นชิ้นและวกกลับมากินขาวกลางกระดานได้ ขาวจึงไม่สามารถละมือได้เลย

Aji#6 :สร้างชีวิต
     หลังจากดำพลาดให้ขาวจนต้องเล่นโคะ ขาวลงมาเล่นในมุมล่างขวาโดยใช้ Aji 2 หมากก่อนหน้านี้ให้เป็นประโยชน์


โคะตัดสิน: โดยปกติแล้วดำควรจะปล่อยให้ขาวรอดในมุมไป แต่เนื่องจากเข้าสู่ช่วงท้ายเกมแล้วแต้มดำตามอยู่เล่นต้องเสี่ยงเล่นโคะเพื่อตัดสินเกม แต่อย่างไรก็ตาม ที่ขู่โคะของดำก็ยังน้อยกว่าขาวอยู่ดี จึงต้องยอมแพ้ไป

    นักหมากล้อมที่ชอบเล่นเกมเชิง Fighting ต้องมีความสามารถในการสร้าง Aji และใช้ประโยชน์จากมันด้วย จะเป็นนักหมากล้อมที่เก่งในการต่อสู้อย่างมากเลยทีเดียว
    ในเกมคอมเมนต์นี้ต้องขอขอบคุณน้องปาล์มแห่งชมรมโกะม.นเรศวร ที่ได้ช่วยแปลคอมเมนต์ให้เราได้อ่านกัน แล้วพบกันอีกในคอมเมนต์เกมต่อไปนะครับ 


วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #23: ป้อมสามดาวต่ำ

    ในการเกมหมากล้อมเปิดได้ไม่จำกัดวิธีก็จริง แต่เนื่องจากโคมิในปัจจุบันมีผลอย่างมากในการเล่นของดำ จึงมีคนคิดค้นป้อมปราการออกมาอยู่เรื่อยๆ เพื่อจะกุมความได้เปรียบตั้งแต่การเปิดเกม ไม่ว่าจะเป็นป้อมซูซาคุในอดีตกาล ป้อมจีนสูง-ต่ำ ป้อมโคบายาชิ ป้อมจีนเล็ก และในเกมนี้เราจะได้เห็นป้อมอีก 1 ป้อมซึ่งไม่ค่อยจะคุ้นตากันสักเท่าไหร่  มาดูกันครับ

    เกมนี้เป็นเกมจากรายการ Meijin ครั้งที่ 28 เมื่อปี 2003 ในรอบชิงตำแหน่งกระดานที่ 4 ระหว่าง

หมากขาว Yoda Norimoto 9P
หมากดำ Yamashita Keigo 9P
Komi 6.5
รายการ Meijin Title ครั้งที่ 28
Date 2003-10-15

Commented game record





Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
http://www.go4go.net
Translator By WalgnoK

เรียนรู้จากบันทึกหมาก
ว่ากันก่อนด้วยเรื่อง โจเซกิ 4-4 จากเกมนี้


เริ่มจากดำมีหมากที่มุมขวา และดำเข้ามาตีมุมซ้ายของขาวด้วยตาม้าเล็ก


เริ่มต้น: จากขาวเลือกตีขนาบ และดำก็กระโดดขึ้น เนื่องจากดำคงไม่อยากให้ขาวได้อิทธิพลด้านนอกไปได้โดยง่ายจึงไม่เลือกที่จะเข้ามุม

ทางเลือกของขาว #1
โจเซกิที่นิยม : ขาว 4 กระโดด 1 ออกมาตามดำ เมื่อเล่นจนจบโจเซกิ ดำได้อิทธิพล ขาวได้ พื้นที่และมือนำ


ทางเลือกของขาว #2
ขาวเล่นตาม้า : ขาว5 ลองมารับด้วยตาม้า เมื่อดำค้ำบ่าที่ 6 แล้วขาวมีทางเลือกที่ A กับ B




ขาวเล่นที่ B :คล้ายกับโจเซกิแรก แต่หลังจากจบโจเซกิแล้ว เมื่อขาว 15ไปเล่นที่อื่น ดำสามารถกดค้ำบ่าขาว 5 ทำให้อิทธิพลดำใหญ่ขึ้นได้


ขาวเลือกเล่นที่ A: เมื่อเล่นออกมาแบบนี้ ขาวเหมือนจะได้มุมใหญ่และมือนำ แต่ต้องระวังเมื่อดำกิน A ดำจะเข้าไปรอดในมุมที่ B ได้


ทางเลือกของขาว #3

ขาวเตะ: ขาวเตะปิดมุมในทันที


ดำปักลง : ดำปักลงที่ 6 เมื่อจบโจเซกิ ขาวได้อิทธิพลทำลายความสัมพันธ์ดำขวาไปหมดสิ้น


ดำฝืน: จะเอาอิทธิพลทางด้านขวา แต่ผลที่ออกมากลายเป็นดำที่โดนล้อมเอาไว้




การรับที่ถูกต้อง : ดำต้องตอบรับการเตะของขาวด้วยการกระแทกหมากที่ 6 ผลออกมาแบบนี้ดำดูดีกว่าเลยทีเดียว

เป็นป้อม 3 ดาวต่ำที่ผมไม่ค่อยได้พบเจอสักเท่าไหร่ แม้ว่าดำป้อมจะแตกพ่ายแพ้ไป แต่ก็แพ้เพียงเล็กน้อย และยังคงทิ้งโจเซกินี่น่าสนใจไว้ให้เราได้ศึกษากันอีกด้วยนะครับ