วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Go Commentary #2:Shi Yue vs Lee Sedol – 17th LG Cup

       สวัสดีครับนักหมากล้อมทุกคน จากเกมแรกที่ได้แปลลงไปใน Blog Road to 3 Dan ต้องยอมรับเลยว่า An Younggil คอมเมนต์เกมได้อย่างละเอียดมาก ทำให้เราได้ความรู้มากเลยทีเดียว ส่วนทางผู้เขียน Blog คงนำจุดเด่นๆ ของเกมออกมาให้ศึกษากันและเพิ่มเติมความคิดเห็นเข้าไปอีกนิดหน่อยนะครับ

ก่อนไปดูคอมเมนต์กัน ผมมีโจทย์มาฝากจากเกมนี้
      
ขาวเดินเพื่อรอดนะครับ 


ส่วนคำตอบเข้าไปดูเฉลยในเกมจริงได้ An Younggil เฉลยไว้ได้ละเอียดจริงๆ


        ส่วนเกมนี้เป็นในรายการแข่งขัน LG Cup ครั้งที่ 17 รอบที่2 เป็นรายการระดับโลกซึ่งยังเกมกันไม่จบด้วยในปีนี้ (2012) เกมที่ An Younggil นำมาคอมเมนต์ในครั้งนี้เป็นการกลับมาของเจ้าชายแห่งวงการหมากล้อม  Lee Sedol (9p) กับดาวรุ่งแห่งวงการหมากล้อมจีน Shi Yue (5p)


                   Lee Sedol (9 dan,ซ้าย) พบกับ Shi Yue (5 dan)ในรายการ LG Cup ครั้งที่ 17

Lee Sedol
         Lee Sedol มีคะแนนเป็นอันดับ2 ของเกาหลีในปัจจุบัน(ตามหลังPark Junghwan (9p)) แต่หลังจากกระดานนี้จบลง เขากลับขึ้นเป็นอันดับ1 เขาเป็นผู้เล่นในระดับโลกที่น่านับถือเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่ดูเหมือว่าเขาจะฝีมือตกลงในปัจจุบัน 

Shi Yue
ชื่อของShi Yueไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่เขาเป็นถึงอันดับ 5 ของจีน เขาได้แชมป์รายการ Xinren Wang (Rookie Cup) ครั้งที่16 และในปัจจุบัน ได้อันดับ 2ในรายการ Dachongjiu Cup ครั้งที่1 (เป็นการแข่งกันของอันดับ 1-16 ของจีน)

เกมนี้เป็นเกมที่ 3ของทั้งคู่ที่พบบกัน และ Lee Sedol ชนะทั้ง 2เกมในปี 2008 และ 2012 ในเกมที่2ของพวกเขาพบกันในรายการSamsung Cup  ,Shi เล่นได้เหนือว่าตลอดทั้งเกม แต่ Lee พลิกสถานการณ์กลับมาได้ในช่วง Endgame แล้วก็ชนะไป

เรามาดูเกมที่ 3 กันเลย
Commented game record: Shi Yue vs Lee Sedol



[link]Raw Eng.
คอมเมนต์หลังเกม
             ขาวเล่นต่อไม่ได้ ถ้าขาวเล่นที่ A ดำจะตัดที่ B และขาวไม่สามารถที่จะจับกินได้ ดำชนะจากแต้มที่ขาดลอยในตอนนี้

  เกมเริ่มต้นขากการต่อสู้ที่น่าสนใจ ขาวC เป็นความผิดพลาดที่สำคัญ และการปิดล้อมที่ Dเป็นหมากที่ยอดเยี่ยม 

หลังจากนั้นลำดับหมากดูเหมือนจะเป็นหมากบังคับอย่างที่ดีที่สุดต่อขาว และรูปเกมก็ออกมาดีต่อดำ จนกระทั้งขาวต้องเอาชีวิตรอดในมุมด้วยหมาก E เป็นเกมที่ออกมาดีต่อดำอย่างแท้จริง 

Lee พยายามอย่างหนักที่จะไล่จับไล่ตาม แต่ การเล่นของ Shi น่าอัศจรรย์มาก และไม่มีจุดผิดพลาดเลย การเล่นของShi Yueในเกมนี้มหัศจรรย์อย่างแท้จริง และLee Sedol ไม่สามารถหาโอกาสได้เลยหลังจากดำสไลด์เข้ามาที่ F

ในรอบต่อไป (รอบ 8คนสุดท้าย) ของรายการ LG Cup ครั้งที่17 จะเริ่มในวันที่ 5/11/12 Shi Yue จะพบกับ Na Hyun 2p จากเกาหลี  Na Hyun เป็นนักหมากล้อมดาวรุ่ง ในเกาหลีเช่นกัน ดังนั้นน่าจะเป้นเกมที่น่าสนใจและสนุกสนานเลยทีเดียว 

ผม(Younggil)หวังว่าคุณจะเข้าใจเกมนี้ดีขึ้นจากการอ่านคอมเมนต์ และสอบถามได้ตามสบาย
ขอบคุณ

An Younggil 8p 
http://gogameguru.com/
เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-shi-yue-vs-lee-sedol-17th-lg-cup/
Credit : http://gogameguru.com/

Add-on


      จากเกมนี้เราได้ศึกษาการเปิดเกมแบบป้อม 3ดาวจีนต่ำ และการเข้าโจมตีในอีกรูปแบบนึงซึ่งน่าจดจำรวมไปถึงโจทย์หมากเป็นหมากตายที่มุมอันน่าสนใจในกระดาน ผมเลยดึงมาเป็นความรู้จากเกมโปรให้ดูกันครับ



ป้อม 3 ดาวจีนต่ำโดยปกติจะเปิดมาในรูปแบบนี้ ดำ 1-3-5 เป็นป้อม 3 ดาว


ป้อม 3ดาวจีนต่อ (ถ้า 3 ดาวจีนสูง หมากดำ 5 จะเล่นที่ Q9)


การเข้าโจมตีของขาวโดยพื้นฐานเล่นทั่วๆได้แบบนี้
ขาวเล่นตามโจเซกิแบบนี้เพื่ออาศัยหลักการให้ขาวรอดไปในมุม จะได้ไม่ต้องห่วงอีก ส่วนดำเข้าจู่โจมที่ C14 เป็นหมากสำคัญเพื่อทำลายโครงสร้างขาว

ยังมีการเข้าตีได้อีกหลายแบบศึกษาป้อม 3 ดาวจีนต่ำจาก นิตยสาร Weiqi Tiandi 
โดย Wang Jiankun 7P กับ Shi Jin Bo 3P ผู้คอมเม้นต์ และ เรียบเรียง โดย ธนพล เตียวัฒนานนท์ (ณฐ) โดยละเอียดได้ที่ http://thaigogenius.com/index.php/comment-games-by-/item/2073-chinese_opening


เกมจริง ดำมีการแลกเปลี่ยนที่มุมล่างซ้ายก่อนไปสร้างป้อม 3 ดาวจีนต่ำ


 สำหรับคนชอบ Fighting
ขาวเลือกที่จะเตะ และตีขนาบ แล้วคงจะต้องวิ่งออกไปพร้อมๆกัน

ขาวเลือกที่จะตีมุมด้านขวาบน 
ส่วนดำเข้าโจมตีโครงสร้างของขาวที่มุมซ้ายบนด้วย ดำ 13 ขาวมีทางตอบรับที่ A กับ B

ขาวตอบรับที่ B
เป็นสิ่งที่ดำอยากให้เป็น ดำได้ขยายที่ 2 และ 4 ดำดูดีกว่าขาวมาก

ขาวตอบรับที่ A
ขาว 14 เป็นหมากที่เล่นได้ในกรณีที่มี ขาว 12 ด้านบน และขาว 16 ด้านซ้าย อยู่ที่เส้น 3 รูปเกมก็จะออกมาซับซ้อนกันเลยทีเดียวจนทำให้ดำยังคงไม่มีเวลากลับไปสร้างโครงสร้างด้านล่างได้

สุดท้ายในเกมนี้เราก็ได้เห็นป้อม 3 ดาวจีนต่ำ ที่มีการพัฒนาการเล่น และการตอบโต้ไปอีกขั้น มีLinkเกมที่เล่นคล้ายๆกัน ระหว่าง Lee Changho กับ Mi Yuting ซึ่งมี An Younggil เป็นผู้คอมเมนต์เช่นกันครับ
  ผมก็หวังเช่นเดียวกันกับ  An Younggil ว่าการแปลบทความแบบนี้จะทำให้นักหมากล้อมไทยที่ได้อ่านพัฒนาฝีมือขึ้นได้นะครับ



วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #21 ลักษณะกล่องที่พังทลาย

   กลับมาแปลเกมของ Alexandre Dinerchtein 3P สลับกับของ  Younggil (8p) กันไปเนื้อหาของ Younggil (8p)นั้นละเอียดมากในทางเทคนิคและ Variation ต่างๆ ให้ความคิดเห็นเป็นอย่างดีที่เดียว แต่เกมนี้ Alexandre Dinerchtein 3P คอมเมนต์ไม่มาก แต่เน้นที่การ Opening  ของเกมได้เป็นอย่างดี เรามาดูกันนะครับ


เกมนี้เป็นเกมในรายการนานาชาติ ING CUP ครั้งที่ 5 หรือ World Cup แห่งวงการหมากล้อมเป็นการพบกันระหว่าง

ดำ Otake Hideo,9-dan (ญี่ปุ่น) 

ขาว Zhou Heyang, 9-dan (จีน)

Title Ing Cup ครั้งที่ 5
Komi 8 Point
Date 2004-04-22



Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
http://gogame.info/
Translator By WalgnoK

ความรู้จากกระดาน

    เกมนี้มีโจเซกิ เกี่ยวกับการเปิดป้อมจีนต่ำมาให้ได้ศึกษากัน
โดยปกติ เมื่อดำเปิดป้อมจีนต่ำที่ 1,3,5 ขาวมักไม่ค่อยนิยมเข้าที่่ 6 เพราะดำจะได้ใช้ป้อมจีนต่ำเข้าจู่โจมขาวได้เต็มประสิทธิภาพ
 ขาวเข้าโจมตีป้อมจีนต่ำที่ 6



              ดำใช้ตาม้า 7 และ และการปักลงที่11 โจมตีขาวอย่างรุนแรง โดยมีลำดับการแลกเปลี่ยนที่มุม เมื่อดำแอบมองที่ 17 แล้ว ขาวจะสอดล่างที่ 18 ก่อนกลับมาเชื่อมที่ 22  หลังจากนั้นดำปิดมือด้วยการเล่น ตีมุมอีกด้านที่ 23 และ 25 ดำดูมีโครงสร้างด้านขวาที่ดูแข็งแรง ใหญ่โตเลยทีเดียว



   ในเกมจริงดำมีกองทัพเสริมที่ 19 แต่ก็ไม่ได้มีหมากที่มุมซ้ายบน ซึ่งกลายเป็นกองกำลังขาวไปแล้ว


 ขาวใช้กองกำลังให้เป็นประโยชน์ ขาวควรเชื่อมหมากไปเลย ไม่เล่นตามโจเซกิ ดำจะตกอยู่ในวงล้อมเสียเอง


กำแพงขนาดยักษ์: เมื่อขาวเล่นตามโจเซกิแต่ ดำกลับตัดสวนทันที เมื่อแลกเปลี่ยนกันออกมาแล้ว ดำได้กำแพงใหญ่มาก แถมยังสัมพันธ์กับหมากที่ใช้ในการตีมุมไปก่อนหน้านั้น

กล่องของดำ : Otake ได้เขียนหนังสือ เปิดฉากรบ บัญญัติ 20 ประการของโอตาเกะ ซึ่งว่ากันด้วยเรื่องการสร้างกล่องช่วงเปิดเกม ตอนนี้จะเห็นได้ว่า ดำมี 2 กล่อง และ 1 สามเหลียม (= ครึ่งกล่อง)
                      แต่เรื่องที่เราคิดกันว่าเล็กน้อยแต่กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ คือ  ดำ41 ไม่ได้เล่นที่ B ซึ่งเป็นการกระโดด 2 แบบตรงๆ ทำให้กล่องสมบูรณ์ตามรูป  ดำกลับเลือกที่จะขยายออกไปไกลอีก 1 เส้น มันทำให้กล่องนั้นดูเบี้ยวไปเล็กน้อย แต่กลับสร้างปัญหาใหญ่กว่านั้น


ขาวทำลายกล่อง : ขาวได้ใช้ช่องว่างอันน้อยนิด บุกเข้าทำลายกล่องด้านขวาไปจนหมด ทั้ง  2 กล่อง เหลือแต่ สามเหลี่ยมด้านบนที่ใหญ่ขึ้นมานิดหน่อยด้วยตาม้านั้นเอง ขาวพิสูจน์ให้เห็นว่า ขยายกล่องผิดไปเส้นเดียว มีผลตามมามากจริงๆ


   ขาวสร้างกล่องบ้าง: ขาวใช้โอกาสที่ดำสร้างกล่องกลางกระดาน โดยการทำทีบุกไปทำลายกล่องและได้ก่อรูปร่างกล่องของตัวเองขึ้นมาทางด้านซ้ายเพื่อโจมตีดำที่อ่อนแออยู่ในบริเวณนั้นไปด้วย


  ดำรอดออกมาได้ : ดำพากลุ่มหมากอ่อนแอรอดออกมาได้ พร้อมกับทำลายกล่องด้านล่างของขาวไป แต่ ด้วยโครงสร้างหมากที่อ่อนแอของดำ ทำให้ขาวเล่นหมากที่ 104-108 ตัดเข้ากล่องตรงกลางของดำได้อีกครั้ง

               จากเกมนี้เราจะเห็นได้ว่า รูปร่างกล่องในการเปิดเกมนั้นสำคัญมาก มันทำให้คู่ต่อสู่ที่เข้ามาแม้จะรอดไปได้แต่ก็สร้างความเสียหายในด้านอื่นๆตามมา จบเกม ขาวพลิกกลับมาจากการพลาดโจเซกิที่ด้านบน เอาชนะดำไปได้ 1แต้ม (โดนหัก 2 แต้มจากการขอเพิ่มเวลา) ในเกมที่มีโคมิถึง 8 แต้ม นั่นหมายถึงเกมได้สูสีกันมากเลยทีเดียว ลองเอากล่องไปใช้ในการเปิดเกมกันดูนะครับ แล้วคุณจะรู้ว่าศักยภาพมันสูงส่งเพียงใด



วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Go Commentary #1:Iyama Yuta vs Hane Naoki – 37th Gosei – Game 3


  วันนี้ผมจะเริ่มแปล คอมเมนท์เกมจากเวปไซด์ http://gogameguru.com/ โดยเริ่มจากเกมย้อนหลังไปบ้างถ้าแปลตามทันแล้ว ก็จะพยายามย้อนถอยลงไปอีกในอนาคตครับ เกมที่ได้รับการคอมเมนต์ในวันนี้เป็นเกมในการแข่งขัน  Gosei ครั้่งที่ 37 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่าง Iyama Yuta (9p)  กับ Hane Naoki (9p)
Iyama ชนะมาก่อนใน 2 กระดานแรก นั่นหมายถึง ถ้าHane Naoki  แพ้ในเกมนี้ เขาจะเสียตำแหน่ง Gosei ไปในทันที (Gosei ใช้ระบบชนะ 3ใน 5)
Hane Naoki (9 dan, ซ้าย) และ Iyama Yuta (9 dan)  กระดานที่ 3 ของรายการชิงตำแหน่ง Gosei ครั้งที่ 37

Hane Naoki

รูปแบบการเล่นของ Hane เป็นการเล่นแบบใจเย้น ค่อยเป็นค่อยไป  เขาชื่อชอบในการเล่นแบบเน้นพื้นที่

Iyama Yuta

ส่วนทางด้าน Iyama นิยมเล่นเกมต่อสู้ เขามั่นใจในหมากที่สู้กันของเค้ามาก รวมไปถึงอายุยังน้อย โดยทั่วๆไปนักหมากล้อมที่อายุน้อยกว่ามีแนวโน้มในการต่อสู้ที่เฉียบคมกว่า
Iyama เพิ่งชนะ ในรายการHoninbo ด้วยการสยบ Yamashita Keigo เพียง 4 วันก่อนหน้าเกมนี้
เรามาดูเกมนี้กันได้เลยครับ

Commented game record: Iyama Yuta vs Hane Naoki




[link] Raw Eng.

คอมเมนต์หลังเกม


    เกมนี้ดูเหมือนจะเล่นเกมที่ Iyama เล่นอยุ่ฝั่งเดียว แต่หมากเบียดที่ E-G ของขาวมันยอดเยี่ยมมาก กระประชิดที่ F เป็นหมากเด็ดที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
    
    อย่างไรก็ตามขาวเล่นหมากที่มีปัญหาออกมาในภายหลัง และเกือบจะรักษาเกมไว้ไม่ได้
    
    ใน อีกมุมนึง Iyama ได้แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในการต่อสู่ และเขาก็จัดการได้เป็นอย่างดี  เขามีจัดผิดพลาดที่ H แต่เขายังคงใจเย็นและไม่ยอมให้ขาวไล่กลับมาทัน

    Iyama Yuta ได้เป็น Gosei คนใหม่ ด้วยการเอาชนะ  Hane Naoki 3-0 ในรอบชิงตำแหน่ง
   
    มันเป็นเกมที่ไม่มีอะไรมาก แต่ผม(Younggil)หวังว่าคุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ หมากเด็ด (tesuji) และ กลยุทธ์ ด้วยการศึกษาจากการเล่นของพวกเขาและการอ่านคอมเมนต์
    
     ถ้ามีคำถามอะไร เชิญถามได้ตามสบาย

     ขอบคุณครับ
     An Younggil 8p 

     http://gogameguru.com/

  
เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.

Link article http://gogameguru.com/go-commentary-iyama-yuta-hane-naoki-37th-gosei-game-3/
Credit : http://gogameguru.com/

      เป็นเกมที่ทาง An Younggil คอมเมนต์ได้ละเอียดดีทีเดียวครับ เป็นการต่อสู่ที่แยบยล ลึกซึ้ง มีหมากเด็ดอยู่มากมาย ต้องอ่านล่วงหน้าไปหลายตากันเลยทีเดียว บทเรียนเหล่านี้คงได้ถ่ายทอดไปสู่นักหมากล้อมไทยได้เป็นอย่างดี น่ายินดีที่สมัยนี้ มีเวปไซด์ในการเรียนรู้หมากล้อมมากขึ้น หากผู้แปลทำการแปลผิดพลาดตรงไหน ขออภัยและช่วยแจ้งมาที่ความคิดเห็นด้านล่าง หรือ ส่งเมลไปที่ Kongogame.hotmail.com เล่นหมากล้อมให้สนุก ต้องรู้จักแบ่งปันความรู้กันนะครับ





    

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Special Thank

Special Thank
   คำขอบคุณตัวโตๆ สำหรับเวปไซด์ http://gogameguru.com/ ที่อนุญาติให้ทางเจ้าของBlog Road to 3 Dan สามารถนำมาแปลComment เป็นภาษาไทยได้ ทำให้เราได้รู้ว่า สังคมหมากล้อม คือ สังคมแห่งการแบ่งปัน เป็นสังคมที่ดีงาม ใครที่ติดตาม Road to 3 Dan ก็ช่วยติดตาม http://gogameguru.com/  ไปพร้อมๆกันเลยนะครับ




ลิงค์ของเวปไซด์หมากล้อมผู้ใจดี



วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #20 ป้อม 3 ดาวโปร

     มาพบกับเกมคอมเมตน์จาก  Alexandre Dinerchtein 3P โปรชาวรัชเซีย กันต่อนะครับ  ในเกมนี้เป็นพบกันในศึก Kisei ครั้งที่ 28 เมื่อปี 2004 ระหว่าง Yamashita Keigo 9P (ดำ) พบกับ Hane Naoki 9P(ขาว) ซึ่งเป็นยอดฝีมือของญี่ปุ่นทั้งคู่
      ในเกมนี้เราจะได้ศึกษาการเปิดป้อม 3 ดาว ของYamashita และการบุกป้อมของ Hane ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าป้อมทุกป้อมล้วนมีจุดล่อลวง ทำให้ดูใหญ่โต และสร้างกับดักการโจมตีไว้ต้อนรับผู้บุกรุกมาเป็นอย่างดี ผมจึงคิดว่าเกมนี้เป็นเกมอีก 1 เกมที่ทั้งผู้รับและผู้รุกเล่นในรูปแบบป้อมได้อย่างสนุกสนานสูสี จึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาทั้งการบุกและการเข้ากระทำ 
        
       เรามาเริ่มศึกษาไปพร้อมๆกันเลย


ขาว Hane Naoki 9P(ขาว)

ดำ  Yamashita Keigo 9P 
รายการ 28th Japanese Kisei
รอบ Titlematch กระดานที่ 4
วันที่ 18/02/2004



Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P 
http://gogame.info/
Translator By WalgnoK

    เราได้เห็นการเปิดเกมป้อม 3 ดาวในรูปแบบใหม่ๆที่ไม่ได้เกิดจากการเปิด 3 ดาวจาก 3 หมากแรกตามที่เคยได้เห็นกันอยู่เป็นประจำ แต่สุดท้าย Yamashita ก็เล่นป้อม 3ดาวออกมาทำให้  Hane  ต้องการกระทำการบุกป้อมทันที



ป้อม 3ดาว:มาในหมากที่ 23



ไม่รีรอ: ถึงเวลาที่ต้องลดทอนแบบมือนำ
เป็นธรรมดามาป้อมที่ ขาวย่อมต้องบุกจุดอ่อนของดำในทัน หลังจากเป็นป้อม 3 ดาวกางปีกในดาวที่4 ซึ่งตอนนี้ หมากดำ 1,3,28, และขยายปีกออกที่  9 รวมเป็น 4ดาวแล้ว ขาวจึงรีบเข้า 3-3 ที่มุมบนในทันที และขาวต้องเลือกระหว่างมือตามที่ B เพื่อป้องกันการโดนปิดล้อม หรือ เอามือนำมาเล่นที่ A



มือนำสำคัญกว่า: รูปนี้แสดงถึงการเล่นที่ Bเพื่อนี้การปิดล้อม แต่ดำไม่สนใจและลงมาปิดมุมได้แบบนี้ ขาวจะพบกับความยากลำบากมากขึ้นในการเข้าไปลดโมโย หรือ พื้นที่ขนาดใหญ่ของดำ



เล่นให้รอด :ขาวเอามือนำมาเข้า มุมล่างขวาของดำและทำการสร้างรอดเพื่อลดภาระในการที่ต้องมาช่วยเหลือกลุ่มอ่อนแอเพิ่ม ซึ่งตอนนี้ขาวมีอยู่ 1 กลุ่มแล้ว 



ดำสำแดงเดช: หลังจากขาวเล่นรอดไปแล้วจนเกิดมือตาม ดำจึงแสดงวิธีการเข้าโจมตีกลุ่มขาว โดยการ สร้างฐานรอดให้กลุ่มอ่อนแอของดำ ซึ่งเป็นจุดที่ขโมยฐานของขาวไปด้วยทำให้ขาวต้องดิ้นรนต่อไป



จุดที่แย่งชิง: ในเกมที่สูสีกันแบบนี้มีจุดที่ทั้งคู่ต้องอย่างชิงจุดๆเดียวกันอยู่ ซึ่งเป็นจุดชี้ชะตาบ่อยครั้งเช่น จุดX ซึ่งขาวควรจะเล่นก่อนตั้งแค่หมาก 60 แต่ไม่ได้เล่น และดำ ก็เข้าล้อมผิดด้าน ในหมากที่ 63 คิดว่าดำคงกังวลเกี่ยวกับขาวที่ A ทำให้เกมนี้ยังสูสีกันอยู่



ขาวชิงได้ก่อน: หมาก64 ขาวได้เล่นการลดทอนเข้าไปในบ้านดำได้ก่อน ทำให้ขาวเริ่มได้เปรียบกว่านิดหน่อย


หมากเด็ด: หมากโยนถามเข้าไปที่ มุมล่างซ้ายของขาว เป็นหมากที่ต้องอ่านกลยุทธ์ที่น่าสนใจเลยทีเดียว ถ้าไมได้โปรอธิบายผมเองก็คงไม่เข้าใจ!


โคะ! : กระดานนี้สูสีกันมาก โปรทั้งคู่จึงให้ความสำคัญกับโคะเป็นพิเศษ หมากเด็ดที่ดำโยนเข้ามานั้น การที่ขาวจะจับกินดำได้ต้องผ่านการเล่นโคะ แม้ว่าจะเป็น 2-3 โคะรอด แต่ก็เป็นโคะชมดอกไม้ที่ขาวเสียไม่ได้เช่นกัน ขาวจึงเลี่ยงที่จะเล่นด้วย


   จบเกม ดำชนะได้ 0.5 แต้ม ซึ่งอาจจมีโชคนิดๆสำหรับดำ แต่กระดานนี้ก็ทำให้เราเห็นการทำงานของ ป้อม 3 ดาวและ จังหวะการเข้าป้อมได้เป็นอย่างดี ขอให้ทุกคนสนุกกับการเล่นหมากล้อม และจงอย่ากลัวป้อมและการเปิดใช้ป้อม  เพราะเส้นทางหมากล้อมยังอีกยาวไกลไม่มีกระดานไหนที่เหมือนกันเลยในเส้นทางการเล่นของเรา (ยกเว้น review เกม^^)








วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #19 เวลาและจังหวะ

     สวัสดีครับ ได้เล่นหมากล้อมบ้าง ในงานยูโกะที่พิษณุโลก เลยทำให้รู้สึกดีอยากเจียดเวลาของตัวเองให้หมากล้อมดูบ้าง ไม่ขอสัญญาว่าจะทำต่อได้มากแค่ไหนแต่ก็อยากทำต่อเรื่อยๆนะครับ เกริ่นไปเรื่อยเปื่อย เรามาเริ่มดูคอมเมนต์เกมโปรกันดีกว่า
     
     เกมนี้เป็นเกมโปรสาวในรายการJeongganjang Cup ครั้งที่2  เมื่อปี 2003 ในรอบรองชนะเลิศกระดานแรก ระหว่าง Park Shiun, 4-dan กับ Rui Naiwei, 9-dan ปัจจุบัน Shiun เลื่อนเป็น 9P ไปเรียบร้อยแล้วนะครับ เกมนี้มีจังหวะการเปิดเกมที่น่าสนใจ รวมไปถึงการบริหาร เวลาและจังหวะ (Timing & Rhythm )ของการเล่นเป็นอย่างดี แม้ว่าจะไม่ได้มีการซัดกันนัวเนียตัดแหลก แต่เป็นการสร้างพื้นที่แบบลงตัวกันเลยทีเดียว สุดท้าย Rui Naiwei, 9P พลาดเพียงนิดเดียว Park Shiun, 4P ไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไปได้อย่างเด็ดขาดและสวยงาม

ขาว Rui Naiwei, 9P

ดำ  Park Shiun 4P
รายการ : 2nd Jeongganjang Cup
กระดานที่ 1 รอบ Semi Final
วันที่ 24/11/03



 จุดสำคัญของเกมนี้เป็นเรื่องของจังหวะและเวลาหลังจากเปิดเกมด้วย โจเซกิที่ไม่ค่อยคุ้นตากันมากนัก
เป็นการแลกเปลี่ยนภาพรวมๆของทั้ง 2 มุม จุดเริ่มต้นที่ทั้ง 2 คนต้องใช้จังหวะและเวลา คือช่วงนี้ครับ


 จังหวะที่ขาวใช้หนีออกมาน่าศึกษามาและเมื่อขาวหนีพ้นแล้ว ดำได้กำแพงสามารถขยายโจมตีที่ B ได้แต่


ขาวจะสวนกลับ :โดยการล้อมกลุ่มในมุมบนขวา ทำให้พื้นที่ด้านขวาของขาวดูแข็งแกร่งสมบูรณ์เป็นอย่างมาก


 เวลาของดำ:จึงกลายเป็นเวลาแห่งการป้องกันตัวมากกว่าการโจมตีไปทางด้านบน
 จังหวะของขาว: ดำมีกำแพงใหญ่มาก ขาวจำเป็นต้องลดทอนกำแพงที่ B ซึงจะทำให้กำแพงหมดประสิทธิภาพ แต่


ดำล้อมขาว : กลุ่มดำจะใช้จังหวะนี้ โอบล้อมขาว ซึ่งออกมาแบบนี้ ขาวเจอกำแพงที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 2-3 เท่า



เวลาของขาว: เป็นเวลาที่ต้องฝ่าวงล้อมออกมาเพื่อให้ปิดล้อมได้ยากขึ้นก่อนที่จะทำการเล่นหมากที่ 32 เพื่อลดทอนกำแพงดำ
จังหวะดำ: เข้าโอบล้อมอีกครั้งด้วยหมาก 37 ขาวต้องเลือกระหว่างการปกป้องมุมใหญ่ที่ Aจากกำแพงดำ กับ พากลุ่มหนีออกมาจากการโอบล้อมด้วย B



เกมจริง: ขาวเลือกปิดล้อมมุม แต่พอดำเล่นหมากที่ 41 ล้อมขาวเอาไว้และตีหมาก ขาว 36 เพื่อช่วยดำ 2หมากไปด้วย แบบนี้รูปเกมเริ่มมาทางดำ


หากพาหนีออกมาก่อน : ทำให้รูปเกมแบบนี้จะยังออกมาให้สูสีกันอยู่



 
เวลาบุกหรือรับของดำ : ตอนนี้สถานการณ์ดำดีกว่าขาว(แต่ดำรู้หรือไม่) แล้ว ดำต้องเลือกว่า จะบุกที่ A หรือ ปิดพื้นที่ ที่ B



เวลาของการป้องกัน : ดำเดิน 1 จะทำให้ขาวต้องไปป้องกันพื้นที่สุดท้ายที่2 เมื่อดำปิดหมากตามลำดับ 3-5 ดำจะชนะขาวในทันที แต่



เกมจริงดำบุก : สถานการณ์ดำบุกแล้วหลังจากจบลำดับหมากชุดนี้ตามเกมจริง ขาวพลิกกลับมาขึ้นนำทันที

     จะเห็นได้ว่า แต่ละสถานการณ์ มีหมากที่ใหญ่แต่ต้องรอจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นจังหวะป้องกัน บุก หรือขยายพื้นที่ ต้องอาศัยจังหวะและเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น เกมนี้พลิกกันไปมาในช่วงท้าย แม้ว่าดำจะอาศัยการอ่านหมากที่เหนือกว่าขาวในช่วงจบเอาชนะไปได้ เกมนี้แสดงให้เห็นถึงจังหวะและเวลาของการเล่นได้เป็นอย่างดี





Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
Translator By WalgnoK