วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Go Commentary #4: Lee Sedol vs Jiang Weijie – 1st Bailing Cup

     เกมนี้มีขึ้นในรอบที่สองของการแข่งขันรายการ Bailing Cup ครั้งที่ 1 โดยเป็นเกมระหว่าง Lee Sedol (9P) กับ Jian Weijie (9P)

     เกมนี้เป็มเกมแรกที่ทั้งคู่เจอกัน Lee Sedol ขณะนี้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่สองในเกาหลี และ Jian Weijie เป็นอันดับที่ 4 ในประเทศจีน

Lee Sedol

          Lee เคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ในเกาหลีเป็นเวลา 27 เดือนติดต่อกันและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่นโกะที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกเป็นเวลาหลายปี
Lee Sedol 9 ดั้ง


Jiang Weijie

            ในขณะเดียวกัน Jiang ได้ชนะรายการ LG Cup ครั้งที่ 16 ในช่วงต้นปี2012 โดยการเอาชนะ Lee Changho และเขาก็ได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นชั้นแนวหน้าของโลก
Jian Weijie 9 ดั้ง

Commented game record:Lee Sedol vs Jiang Weijie



[link] Eng.raw
       ดำมีเพียงจุดขู่โคะที่เดียวที่ A แต่ขาวยังมีอีกสองจุดที่ B และ C ดังนั้น Lee จึงยอมแพ้ตรงนี้

       ขาวเปิดเกมได้ดีกว่าหลังจากขาวตัดที่ D ขาวยังนำอยู่แต่ดำไล่ตามทันหลังจากเล่นที่ E และเกมก็พลิกเมื่อกลุ่มดำด้านบนรอด

       ดำเล่นผิดพลาดหลายครั้งที่ F และ G และเกมก็พลิกอีกครั้ง  Jiang เล่นได้อย่างสมบูรณ์แบบหลังจากการสู้โคะที่ H และในที่สุดก็ชนะกระดาน

       กระดานนี้เริ่มต้นด้วยการสู้อย่างเข้มข้น ดุเดือดและก็ไม่หยุดสู้กันจนกระทั่งจบเกม

       Jiang Weijie เอาชนะ Lee Sedol และเข้าสู่รอบต่อไป แต่เขาก็แพ้ให้กับ Park junghwan (9p) และไม่ได้ผ่านเข้ารอบต่อไป

ขอขอบคุณครับ
An Younggil 8p
http://gogameguru.com/

เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-lee-sedol-vs-jiang-weijie-1st-bailing-cup/
Credit : http://gogameguru.com/
Translator : Plam EngMajor


Add-on

         เกมนี้เป็นเกมที่ Fighting กันทั้งเกม ทำให้เกิดจุดที่น่าสนใจคือ นอกจากการกลุ่มที่ตายกลุ่มสุดท้ายบริเวณมุมล่างขวาที่เป็นจุดตัดสินเกมแล้ว ไม่มีกลุ่มอื่นๆที่ตายอีกเลย นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงวิธีการต่อสู้อย่างถูกต้อง และสิ่งๆนึงที่ทำให้กลุ่มแต่ละกลุ่มรอดพ้นอันตรายไปได้ นั่นคือ Aji  ที่ทำให้อีกฝ่ายโจมตีได้ลำบาก เรามาดูการต่อสู้กันทั้งเกมที่ทิ้ง Aji ไว้ล่อลวงกันครับ

เริ่มต้นกันตั้งแต่มุมแรกกันเลย

ดำโดนล้อม : หลังจากที่ ดำ19 เล่นพลาด ขาวก็ทำการตัดเข้าล้อมดำทันที ดำมีทางเลือกแค่ 2 ทางเท่านั้น
 
Aji #1 :เพื่อปิดกั้น
ดำเลือกเล่นที่ B : ตัดและจับกินขาว 2 หมากเพื่อรอดในมุม ขาวได้กำแพงที่ใหญ่แล้ว อีกทั้ง Aji ขาว 2 หมากในมุมยังส่งผลให้ A เป็นหมากมือนำ ที่ทำให้มุมของดำลดขนาดได้ในภายหลังอีกด้วย

Aji # 2 :เพื่อรอดในมุม
     ดำมี Aji 2หมากที่ตัดสินใจตัดออกมา หลังจากที่ดำเบียดขาวเพื่อสร้างรอดและดูท่าทีของขาว ขาวจะรับอย่างประมาทไม่ได้เลยทีเดียว


ขาวอาจพลาดพลั้งได้:ขาวเดินต่อออกที่ B ตามลักษณะ หมาก แต่เมื่อดำเบียดเข้าไปในมุมเมื่อขาวพยายามจะฆ่าดำ ดำกลับตัดที่ 14 และเกิดโคะที่ขาวยากต่อต้าน

Aji#3 : เพื่อสร้างอิทธิพลทดแทน
      หลังจากขาวรับมือที่มุมล่างซ้ายเป็นที่เรียบร้อย ขาวก็กลับมาตัดหมากดำสู้กันอีกครั้ง ลักษณะหมากดำดูอ่อนแอมากระหว่างการต่อสู้ แต่มี Aji ของดำอยู่ 2หมาก ถ้าขาวตัดที่ B ดูละ


แปรผันสู่อิทธิพล :ดำพร้อมยอมแลกหมากกลุ่มตรงกลางกับอทธิพลด้านบนและจากความแข็งแกร่งทางด้านขวาก็ทำให้เกมของดำยังดูดีอยู่เลยทีเดียว เนื่องจาก กลุ่มตรงกลางยังเป็น Aji  ที่มีลมหายใจมากพอดูเลยทีเดียว

Aji#4 : เพื่อมือนำ
ทิ้งมือไปเล่นที่อื่น:ขาวเดินหมากทิ้งไว้ 2หมากในบ้านดำ ทำให้ขาวกลุ่มนี้รอดได้จากความตายจากการเดินที่ A หรือตัดที่ O ส่งผลให้สามารถทิ้งมือไปตัดที่ X ได้

Aji #5 : เพื่อเกิดหมากบังคับ
      ดำเดินแยกเป็นกลุ่มอ่อนแอ 2 กลุ่มแล้ววกกลับมาช่วยกลุ่มตรงกลางในรอดโดยปล่อยให้หมากดำ 4 หมากบริเวณมุมขวา โดยล้อมและกลายเป็น Aji ไป แต่ถ้าขาวลองทิ้งมือไปลดพื้นที่ทางด้านซ้ายของดำที่ Bจะเกิดอะไรขึ้น


ขาวพังทลาย: ดำตัดขาวออกเป็นชิ้นและวกกลับมากินขาวกลางกระดานได้ ขาวจึงไม่สามารถละมือได้เลย

Aji#6 :สร้างชีวิต
     หลังจากดำพลาดให้ขาวจนต้องเล่นโคะ ขาวลงมาเล่นในมุมล่างขวาโดยใช้ Aji 2 หมากก่อนหน้านี้ให้เป็นประโยชน์


โคะตัดสิน: โดยปกติแล้วดำควรจะปล่อยให้ขาวรอดในมุมไป แต่เนื่องจากเข้าสู่ช่วงท้ายเกมแล้วแต้มดำตามอยู่เล่นต้องเสี่ยงเล่นโคะเพื่อตัดสินเกม แต่อย่างไรก็ตาม ที่ขู่โคะของดำก็ยังน้อยกว่าขาวอยู่ดี จึงต้องยอมแพ้ไป

    นักหมากล้อมที่ชอบเล่นเกมเชิง Fighting ต้องมีความสามารถในการสร้าง Aji และใช้ประโยชน์จากมันด้วย จะเป็นนักหมากล้อมที่เก่งในการต่อสู้อย่างมากเลยทีเดียว
    ในเกมคอมเมนต์นี้ต้องขอขอบคุณน้องปาล์มแห่งชมรมโกะม.นเรศวร ที่ได้ช่วยแปลคอมเมนต์ให้เราได้อ่านกัน แล้วพบกันอีกในคอมเมนต์เกมต่อไปนะครับ 


วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #23: ป้อมสามดาวต่ำ

    ในการเกมหมากล้อมเปิดได้ไม่จำกัดวิธีก็จริง แต่เนื่องจากโคมิในปัจจุบันมีผลอย่างมากในการเล่นของดำ จึงมีคนคิดค้นป้อมปราการออกมาอยู่เรื่อยๆ เพื่อจะกุมความได้เปรียบตั้งแต่การเปิดเกม ไม่ว่าจะเป็นป้อมซูซาคุในอดีตกาล ป้อมจีนสูง-ต่ำ ป้อมโคบายาชิ ป้อมจีนเล็ก และในเกมนี้เราจะได้เห็นป้อมอีก 1 ป้อมซึ่งไม่ค่อยจะคุ้นตากันสักเท่าไหร่  มาดูกันครับ

    เกมนี้เป็นเกมจากรายการ Meijin ครั้งที่ 28 เมื่อปี 2003 ในรอบชิงตำแหน่งกระดานที่ 4 ระหว่าง

หมากขาว Yoda Norimoto 9P
หมากดำ Yamashita Keigo 9P
Komi 6.5
รายการ Meijin Title ครั้งที่ 28
Date 2003-10-15

Commented game record





Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
http://www.go4go.net
Translator By WalgnoK

เรียนรู้จากบันทึกหมาก
ว่ากันก่อนด้วยเรื่อง โจเซกิ 4-4 จากเกมนี้


เริ่มจากดำมีหมากที่มุมขวา และดำเข้ามาตีมุมซ้ายของขาวด้วยตาม้าเล็ก


เริ่มต้น: จากขาวเลือกตีขนาบ และดำก็กระโดดขึ้น เนื่องจากดำคงไม่อยากให้ขาวได้อิทธิพลด้านนอกไปได้โดยง่ายจึงไม่เลือกที่จะเข้ามุม

ทางเลือกของขาว #1
โจเซกิที่นิยม : ขาว 4 กระโดด 1 ออกมาตามดำ เมื่อเล่นจนจบโจเซกิ ดำได้อิทธิพล ขาวได้ พื้นที่และมือนำ


ทางเลือกของขาว #2
ขาวเล่นตาม้า : ขาว5 ลองมารับด้วยตาม้า เมื่อดำค้ำบ่าที่ 6 แล้วขาวมีทางเลือกที่ A กับ B




ขาวเล่นที่ B :คล้ายกับโจเซกิแรก แต่หลังจากจบโจเซกิแล้ว เมื่อขาว 15ไปเล่นที่อื่น ดำสามารถกดค้ำบ่าขาว 5 ทำให้อิทธิพลดำใหญ่ขึ้นได้


ขาวเลือกเล่นที่ A: เมื่อเล่นออกมาแบบนี้ ขาวเหมือนจะได้มุมใหญ่และมือนำ แต่ต้องระวังเมื่อดำกิน A ดำจะเข้าไปรอดในมุมที่ B ได้


ทางเลือกของขาว #3

ขาวเตะ: ขาวเตะปิดมุมในทันที


ดำปักลง : ดำปักลงที่ 6 เมื่อจบโจเซกิ ขาวได้อิทธิพลทำลายความสัมพันธ์ดำขวาไปหมดสิ้น


ดำฝืน: จะเอาอิทธิพลทางด้านขวา แต่ผลที่ออกมากลายเป็นดำที่โดนล้อมเอาไว้




การรับที่ถูกต้อง : ดำต้องตอบรับการเตะของขาวด้วยการกระแทกหมากที่ 6 ผลออกมาแบบนี้ดำดูดีกว่าเลยทีเดียว

เป็นป้อม 3 ดาวต่ำที่ผมไม่ค่อยได้พบเจอสักเท่าไหร่ แม้ว่าดำป้อมจะแตกพ่ายแพ้ไป แต่ก็แพ้เพียงเล็กน้อย และยังคงทิ้งโจเซกินี่น่าสนใจไว้ให้เราได้ศึกษากันอีกด้วยนะครับ



วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Go Commentary #3: Xie Erhao vs Li Kang – 1st Bailing Cup

    นักหมากล้อมทุกท่านเราจะพาท่านเดินไปยังเส้นทางการแข่งในรายการ Bailing Cup ครั้งที่ 1ในรอบquarter finals  มีคู่จากจีนพบกันเอง แต่ที่น่าสนใจคือ คนนึงเริ่มเป็นโปร ในขณะเดียวกันอีกคนนึงเพิ่งจะเกิดมา เรามาดูคลื่นลูกใหม่ปะทะคลื่นลูกเก่ากันครับ


Xie Erhao

     Xie Erhao เกิดเมื่อปี 1998 และขึ้นเป็นโปรในปี 2011 (13ปี)
    
     นี่เป็นรายการแข่งระดับนานาชาติครั้งแรกของXie แต่ก่อนหน้าเกมนี้ เขาไปโค่น Yamashita Keigo (9p) จากญี่ปุ่นและ Kim Hyunchan (2p) จากเกาหลีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 


 Xie Erhao 1 ดั้ง ในรายการBailing Cup ครั้งที่1 


Li Kang

    Li Kang เกิดในปี 1987และก้าวสู่โปรในปี 1998.

Li Kang 6 ดั้งในรายการLG Cup ครั้งที่ 17

    เขาเคยได้ที่2 ในรายการ Qiwang ครั้งที่4 ในปี 2008 และเขาเข้าสู่รอบ 8 คนสุดท้าย ของ LG Cup  ครั้งที่17
    ในปีนี้ คะแนนของเขาเป็นอันดับที่ 27 ในจีน


เรามาดูเกมของพวกเขากันเลย

Commented game record: Xie Erhao vs Li Kang



คอมเมนต์หลังเกม

         เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่ได้เห็น เด็กมหัศจรรย์อายุ 13 ปี Xie จัดการเกมได้อย่างสมบูรณ์แบบจนถึงการกระโดดที่ A มันเป็นช่วงเวลาที่อันตรายสำหรับดำ หลังจากนั้นขาวทำผิดพลาดอย่างร้ายกาจที่จุด B ขาวก็ไม่ได้รับโอกาสอีกเลยต่อจากนั้นมา

         ในการเปิดเกม Li ควรจะเล่นที่่ C ก่อน แต่เขาก็พลาดโอกาสไป และเกมก็เป็นของดำไปเลย

         อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ดำเล่นพลาดบ้างที่จุ A  ขาวได้รับโอกาสที่ดีในการพลิกเกม แต่เขาก็พลาดโอกาสไป

         Xie ได้ทำลายสถิติเป็นผุ้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดในการเข้ารอบรองชนะเลิศในรายการนานาชาติ   ผม(Younggil) มีความสุขมาที่ได้เห็นนักหมากล้อมเด็กผู้มีพรสวรรค์คนนี้ และ มาติดตามว่าเขาจะบินได้สูงเพียงไหนในอนาคต

        ผม(Younggil) หวังว่าคุณจะสนุกกับเกมและคอมเมนต์นี้ ถ้าคุณมีคำถามใดๆเกี่ยวกับเกม เชิญถามได้ที่คอมเมนต์

ขอบคุณครับ
An Younggil 8p
http://gogameguru.com/


เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-xie-erhao-vs-li-kang-1st-bailing-cup/
Credit : http://gogameguru.com/

Translator : WalgnoK

Add-on

      เห็นรูปแบบการเล่นในกระดานนี้ผมยิ่งยอมรับในการอ่านหมากของโปร กลุ่มหมากที่เหมือนจะตายไม่ตาย กลับรอดออกมาได้ โดยมีมากที่คิดไม่ถึงมากมาย แต่สิ่งที่ได้จากการคอมเมนต์เกมนี้ ผมได้เจอมาเด็ดในการเปิดเกมที่น่าสนใจ บอกตรงๆเลยว่าไม่เคยได้เรียนรู้มากก่อนแบบนี้เลย 



    เริ่มต้น จากการสกัดป้อมจีนด้วยหมากขาว 4 จนถึงการเดินล้อมพื้นที่ด้านล่าง ดำ 11  โดยปกติจะเลือกเล่น A เพราะคิดว่าต้องมาจัดการมุมซ้ายก่อน แต่การเล่นที่ B มันมีค่ามากมายนัก



ดำแอบมอง: ขาวเล่น 2 และ 4 เป็นหมากเด็ด ดำไม่ได้ตัดแถมยังต้องกลับไปเชื่อม ได้มือนำมาเล่นบุกที่่ ขาว 6



ดำรับด้านล่าง: ขาวจึงค่อยกลับมาเล่นมุมด้านล่างซ้ายได้ เนื่องจากดำจะไปเล่นผ่าขาวที่ 8 ไม่ได้ เนื่องจากขาวเล่นปากเสือที่ขาว 13 ส่งผลให้ทั้งดำและขาว วิ่งหนีออกมาพร้อมกัน


แค่ผิดลำดับ: ขาวไม่ได้เล่นที่ B ก่อน ตามรูปบนๆ แล้วพอโดนดำโจมตีที่ Q8 ขาวเล่นออกแล้วขาวจึงมาเล่นขู่ที่ P4 ในภายหลัง แต่สถานการณ์เปลี่ยนไป ดำสวนกลับด้วยการแอบมอง
ด้วยที่ O5 ขาวก็ตกอยู่ในวงล้อมในทันที


เกมจริง: ขาวไม่ได้เล่นที่ Bก่อน แต่หลังจากการแลกเปลี่ยนด้านขวา ขาวก็ยังกลับเล่นที่ B ได้เช่นกัน แต่ขาวก็พลาดไปเล่นที่ A


ขู่ที่ B: เมื่อขาวขู่ที่ B ก่อน ดำอาจจะรับด้วยตาม้าแบบในเกมจริง แต่ขาวสามารถค้ำบ่า สกัดอิทธิพลของดำเข้าสู่กลางกระดานได้ด้วย หมาก 2และ4  แม้ว่าจะขาวแต้มตามอยู่แต่ก็ยังทำให้เกมเล่นกันต่อไปได้


เปรียบเทียบกัน: ในเกมจริงขาวเดินบุก 34ก่อนแล้วค่อยกลับมาขู่ที่ 36


ขาวโดนตัดออกจากกัน: ทำให้ดำยังคงรักษาเกมนำไปได้เรื่อยๆจากการไล่ตีกลุ่มอ่อนแอของขาว


           ใครมองวัตถุประสงค์ของหมาก P4 ออกกันบ้างครับ? หมากเป็นหมากเดียวพลิกเกมได้ แต่ต้องมาในเวลาที่ถูกต้องเหมาะสมเท่านั้น  แล้วพบกันอีกในการแปลคอมเมนต์กระดานหน้านะครับ


วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #22 บุกแหลกไม่ตายแต่ไม่ชนะ

  เราสลับมาดูคอมเมนต์เกมเก่าๆกันบ้างนะครับ เกมนี้เป็นเกมจากรายการSumsung Cup ครั้งที่  9 ระหว่าง
ดำ Cho Hyeyeon, 4-dan (Korea) กับ ขาว Nakane Naoyuki, 7-dan (Japan) ในรอบคัดตัว มีความน่าสนใจในการขายมุมที่ใหญ่มาก และการรุกเข้าในพื้นที่อย่างน่าสนใจที่เดียว


รายการ Sumsung Cup ครั้งที่  9
รอบ Preliminary competition
วันที่ 2004-08-02

ดำ
Cho Hyeyeon, 4 dan (เกาหลี)

ขาว
Nakane Naoyuki, 7 dan (ญี่ปุ่น)

Commented game record





Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
http://www.go4go.net
Translator By WalgnoK

เรียนรู้จากบันทึกหมาก

เกมนี้เป็นการเปิดเกมที่มีขายหมากที่มุมที่น่าสนใจบริเวณมุมล่างซ้ายเรามาดูจุดนั้นกัน


 จุดเริ่มต้น: เมื่อดำ21 กลับไปปิดมุมขวาบนขาวจึงคิดทำอะไรบางอย่างกับมุมซ้ายล่าง


ขาวต้องเลือก:ดำตัดสินใจเล่นดำ 27 ทำลายฐานของขาว ในขณะที่กลุ่มดำด้านนอกยังเปราะบางอยู่ ขาวต้องเลือกว่าจะทำอย่างไร

ดำขาย : กรณีที่ขาวเลือกที่จะหนีออกมาด้วยการหนีบที่ B ดำจะสร้างกำแพงกดหมากขาวและขายหมากดำในมุมให้กับขาวไป

เกมจริง ขาวขาย: ขาวเลือกที่จะตัดหมากที่ A แล้วสร้างกำแพงโดยการขายหมากที่มุมให้แก่ดำไป ทำให้รูปเกมยังไปต่อได้

เราจะกล้าขายกันแบบนี้กันรึเปล่านะ?

ในเรื่องต่อมาตอนนี้ขาวได้กำแพงทั้งด้านล่างและด้านซ้าย ส่วนดำนั้นได้พื้นที่และโครงสร้างหมากที่มุมบนขวาเรามาดูการบุกของขาวกัน



ขาวบุกลึก: และต่ำเข้าไปให้พื้นที่ดำ แทนที่จะบุกที่ X เพื่อล้อมหมากดำ 7 และให้เข้ากับกำแพงที่มีอยู่

ผลที่ได้จากการบุกครั้งที่ 1 : กำแพงของขาวฝั่งซ้าย ต้องเจอกับกำแพงขาวฝังขวา แถบจะหมดพลังไปเลยทีเดียว แต่ที่หนักกว่า คือ กำแพงด้านล่างดับสูญอำนาจไปโดยสิ้นเชิง ในขณะที่ดำยังได้มือนำมาตีมุมซ้ายบนพร้อมๆกับขยายอาณาจักรด้านบนไปพร้อมๆกัน

ขาวบุกแหลกอีกครั้ง :ขาวบุกเข้ามุมบนขวาของดำอีกครั้ง โดยเล่นประชิดตัวหมากดำ 1


ผลที่ได้จากการบุกครั้งที่ 2 : ขาวรอดได้ในมุมบนขวาสำเร็จ แต่ดำสวนกลับด้วยการยึดมุมบนซ้าย พร้อมกับปิดล้อมพื้นที่ด้านบนไปอย่างสมบูรณ์ และยังได้มือนำมาสร้างบ้านกลางกระดานอีกด้วย ขาวมีทางเลือกที่จะเล่นต่อที่ A หรือ บุกที่ B อีกครั้ง

เกมจริงขาวบุกแหลกที่ B : เป็นการบุกทะลวงเข้าไปลึกในพื้นทีของดำ ว่ากันว่าเป็นหมากที่ทำให้ขาวพ่ายแพ้อย่างสมบูรณ์เลยทีเดียว

ผลที่ได้จากการบุกครั้งสุดท้าย: ขาวลดทอนบ้านดำได้บ้าง แต่ในขณะที่ดำก็สวนกลับขาวด้วยการลดโมโยขาวลงโดยสิ้นเชิงจากรูปจะเห็นได้ว่า โมโยขาวโดนทำลายไปมากขนาดไหนเมื่อเปรียบเทียบกับการเข้าประชิดที่ A

เกมยังดำเนินต่อ : ถ้าขาวเดินประชิดดำที่ A ผลที่ได้มาทำใหขาวได้พื้นที่ตรงกลางกระดานพอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งต่างจากเกมจริงมากเลย

โดยสรุปเกมนี้ คำพูดที่ว่า
 "ไม่อยากให้เขามีแต้ม เราก็จะไม่มีแต้ม 
ไม่อยากให้เขาใหญ่ เราก็ไม่ใหญ่"
น่าจะใช้ได้ดีกับเกมนี้นะครับ  
                                                                                       


จงอย่าอิจฉาคนอื่น  แต่จงใช้ชีวิตให้คนอื่นอิจฉา
                                                           พระมหาปรีชา  ปภสฺสโร