วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #24: หมากหยั่งเชิง

                ช่วงใกล้สิ้นปีมีหลายรายการแห่งหมากล้อมให้ได้ดูกันเยอะทีเดียว ผมได้นั่งดู Sumsung Cup ระหว่าง Gu Li กับ Lee Sedol เป็นเกมที่สูสีและสนุกมาก หวังว่าจะมีเกมของพวกเค้าได้รับการคอมเมนต์ให้เราได้เข้าใจยิ่งขึ้นกัน เกมวันนี้เป็นเกมจะ ING CUP ครั้งที่ 5  ในปี 2004 เป็นเกมที่มีคอมเมนต์ไม่เยอะ เนื่องจากการเปิดเกมที่สร้างช่องว่างของคะแนนห่างกันเกินไป แต่ในการคอมเมนต์กลับมีจุดๆนึงที่น่าสนใจในการใช้เล่นหมากล้อม นั้นคือหมากหยั่งเชิง หรือ หมากถามทาง รวมไปถึงการไปเข้าร่วมฟังการสนธนาระหว่างดั้งชั้นนำของไทยใน KGS เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เรามาดูกันครับ

หมากขาว Ma Xiaochun 9D

หมากดำ Choi Cheolhan 8D

รายการ  INK CUP ครั้งที่ 5
รอบที่ 2
Komi 8
Date 2004-04-22

Commented game record



Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
http://www.go4go.net
Translator By WalgnoK

เรียนรู้จากบันทึกหมาก
หมากหยั่งเชิงในบันทึกหมากของเกมนี้ เริ่มจากจุดนี้ 
หมากดำ 51 เข้าไปหยั่งเชิงดูการตอบรับของขาวที่ 3-3 ขาวตอบรับด้วยการปิดกั้นไม่ให้ออกมาเชื่อมกลุ่มด้านนอก ด้วยหมาก 52 ดำรับรู้การตอบรับนี้แล้วจะทำอย่างไรต่อไป

แนวคิดพื้นฐาน : รอดด้านใน
เป็นแนวคิดธรรมดามากที่จะเดินให้รอดด้านใน แต่ผลที่ออกมา ดำสามเหลี่ยมด้านนอกอ่อนแอลงอย่างมาก

หมากบังคับ
เป็นหมากบังคับโดยการเข้าประชิด เพื่อบังคับให้ดำต้องตอบรับ

ล่อซ้ายจู่โจมขวา
ถ้าขาวรับด้วยการเบียดที่ 1 ดำจะขนาบประกบที่2อีกครั้ง และเมื่อขาวเชื่อม ดำจะเดินออกจากมุมโดยมีหมากดำ 2 สนับสนุน

เกมจริง

            แม้ว่าขาวจะไม่ตอบรับตามรูปก่อนหน้านี้ แต่ขาวก็หาหมากดีๆไม่ได้เช่นกัน ผลคือ ดำรอดโดยที่ดำกลุ่มด้านนอกได้เสริมความแข็งแกร่งได้อีกด้วย

          ในเกมนี้  Choi Cheolhan เอาชนะไปได้เพียง 3 แต้ม แต่อย่าลืมว่ามี Komi ถึง 8 แต้มทีเดียวในรายการนี้ ดำต้องมีความพยายามที่จะรุกเร้ามากกว่าปกติ และเค้าก็ทำได้ดี 

        เรามาดูตัวอย่างหมากหยั่งเชิงที่ Kel2ol2o [5d] (ดั้งเพียว) กับ PlabuRiser [5d] (ดั้งกมล) คุยกันใน KGS

Start!!
เริ่มต้นที่ ขาว 38 บุกเข้าพื้นที่ของดำ และ ดำตีหัวด้วยหมาก 39

แนวคิดเริ่มต้นของขาว
เดินให้รอดในบ้านดำ แต่เมื่อขาวรอดแล้ว มุมขาวจะโดนพังด้วยหมากดำ 18

ลองอีกแบบ
มุมของขาวยังคงพัง และดำก็ได้กำแพงไปอีก


ขาวจะทำอย่างไรกับการแลกเปลี่ยนนี้ดี
ขาวหยั่งเชิงดำด้วย N3 ดำต้องเลือกรับระหว่าง A และ B

ปิดทางกลับด้วย B
ขาวเล่นตามรูปแรก แต่คราวนี้ หมากขาว N3 ทำให้ขาวรอดข้างล่างได้ใหญ่ขึ้น

ต้องมาปิดที่ A
บันได:แม้ว่าบันไดจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่บันไดก็เป็นของขาว

ดำลองฝืนสู้
ขาวพอใจที่จะถอยกลับ และดูเหมือนว่าขาวจะพอแล้วจึงกลับมาเล่นปิดมุมที่ขาว 8

ขาวหยั่งเชิงN3 น่าสนใจมาก  ทำให้ดำยากที่จะหาทางรับดีดีได้เลย

Start 2!!
ดำเริ่มด้วยหมากหยั่งเชิง 9 ที่ยอดเยี่ยมทันที

เมื่อขาวตอบรับที่ 10: ดำกระโจนเข้ามุมด้านขวา และด้านซ้าย ต่อด้วยการตัดหมากที่ 38 ยกให้ขาวกินและเดินสร้างรูปร่างออกด้านบนอย่างสวยงาม

เปรียบเทียบกับไม่ได้เดินหมากหยั่งเชิง
หมากดำ  25 เล่นเหมือนกับหมากดำ 9 หลังจากการแลกเปลี่ยนที่มุมทั้ง 2 ไปแล้ว แต่คราวนี้ขาวคงไม่ยอมให้ดำออกไปได้ง่ายๆ ด้วยหมาก 26 หรือแค่เล่นให้แกร่งที่ A ก็ได้

    หมากหยั่งเชิงถือเป็นวิธีคิดชั้นสูงของนักหมากล้อมเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องคิดจากรูปแบบหมากพื้นฐาน จนเข้าไปถึงการเพิ่มหมากที่ซับซ้อนให้มากขึ้นแล้วนำมาประกอบกัน โดยเน้นที่ไปที่การใช้หมากบังคับอย่างต่อเนื่อง และ ลำดับของเวลา จะก่อให้เกิดผลที่ต่างกันได้เป็นอย่างมาก หวังว่าเราคงได้มีโอกาสเรียนรู้ หมากหยั่งเชิงของโปรอีกบ่อยๆ และได้ใช้ในเกมจริงของเรากันนะครับ

ขอขอบคุณ ดั้งเพียวและดั้งกมล ที่ให้เราได้แอบเขาฟังการสนธนาในครานี้ ^^



วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Go Commentary #5: Gu Li vs Lee Sedol – Quadruple ko – 17th Samsung Cup

      บทความแปลจาก Go commentary มาอีกแล้วนะครับ เกมนี้เป็นเกมของ  Lee Sedol อีกครั้ง ซึ่งเกมของเขาส่วนใหญ่เป็นเกมตัดสู้กัน โดยใช้การอ่านหมากระดับสูงทำให้การดึงจุดเด่นมาคอมเมนต์นั้นเป็นเรื่องยากทีเดียว เกมนี้ต้องมาเจอกับคู่ปรับจากจีนอย่าง Gu Li เรามาดูกันว่าพวกเค้าต่อสู้กันสนุกเพียงไร


      กระดานนี้มาจากรอบ 32 (รอบแบ่งกลุ่ม) ของรายการ Samsung Cup ครั้งที่ 17 เป็นกระดานระหว่าง Lee Sedol (9p) และ Gu Li (9p)

     ในรอบแบ่งกลุ่ม Lee Sedol ได้เอาชนะ Nie Weipin และ Gu Li ก็เอาชนะ Cho U ไปได้ในก่อนหน้ากระดานนี้

      รอบแบ่งกลุ่มของรายการSamsung Cup  ใช้ระบบแพ้สองครั้งคัดออก และผู้ชนะสองท่านจะเข้าสู่รอบต่อไป

      นี่คือกระดานครั้งที่ 29 ในการพบกันระหว่าง Lee และ Gu  สถิติของทั้งคู่เสมอกันอยู่ที่ 14-14 กระดาน เกมการเล่นของพวกเขาที่ดูน่าสนใจและตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ
มาดูกระดานนี้กัน

 Lee Sedol 9 dan (คนหน้า) and Gu Li 9 dan (คนไกลด้านขวา)


Commented game record:Gu Li vs Lee Sedol




   
     เกมนี้ได้รับตัดสินให้เสมอหลังจาก จตุรโคะเกิดขึ้นที่นี่ 

    เป็นครั้งแรกที่เกิดจตุรโคะขึ้นในการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นเรื่องยากมากที่จะได้เห็นจตุรโคะและคู่แข่งที่เหลือเชื่อนี้ได้สร้างผลงานชิ้นเอกขึ้นมาด้วยกัน

    กระดานนี้มีจุดเด่นอยู่ที่รูปร่างหมากที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่เริ่มเกมและหลังจากการสู้รบแรกเริ่มต้นขึ้นที่ A พวกเขาไม่เคยหยุดต่อสู้กันจนกระทั่งจบเกม

     กระดานนี้จะถูกจดจำไปอีกนานในฐานะผลงานชิ้นเอกอันยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์ของโกะ และพวกเราโชคดีที่ได้เป็นสักขีพยาน

    ผม(Younggil) หวังว่าคุณจะเข้าใจกระดานนี้มากขึ้นหลังจากได้อ่านการคอมเม้นนี้และยินดีที่จะทิ้งคอมเม้นท์ไว้ถ้าคุณมีคำถามใดๆ

ขอขอบคุณครับ
An Younggil 8p
http://gogameguru.com/


เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-gu-li-vs-lee-sedol-quadruple-ko-game-17th-samsung-cup/
Credit : http://gogameguru.com/
Translator Plam EngMajor


       เกมนี่เป็นเกมที่แสดงถึงพลังในการอ่านหมากล่วงไปข้างหน้าหลายตา การเกิดจตุรโคะนี้ อาจจะไม่ได้เกิดจากการเล่นเพื่อเอาตัวรอด แต่น่าจะเกิดจากความมั่นใจว่ารอด และรอดูท่าทีว่าคู่แข่งจะพลาดพลั้งหรือไม่ เมื่อทั้งคู่ไม่พลาดจึงเกิดการเสมอกันขึ้น

   แม้ว่าผลการแข่ง Re Match จะเป็น Gu Li  ที่เอาชนะไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม  Lee Sedol ก็ผ่านคู่แข่งคนอื่นๆมาได้จนผ่านรอบแบ่งกลุ่มตาม  Gu Li เข้ามาจนกระทั้งผ่านเข้ารอบชิงไปเจอกันอีกครั้ง เรารอติดตามชมกันว่าเกมในรอบชิงจะสู้กันสนุกเพียงไรในรายการ Samsung Cup ครั้งที่ 17 ของปีนี้