วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

Go Commentary #7: Choi Cheolhan vs Lee Sedol – 17th Samsung Cup เปิดเกมดีมีชัยไปก่อน

Go Commentary #7: Choi Cheolhan vs Lee Sedol – 17th Samsung Cup

      Samsung cup ครั้งที่ 17 เพิ่งจะได้แชมป์ไปไม่นานรายการนี้นั่นคือ Lee Sedol 9p สุดยอดนักหมากล้อมคนนี้มีสไตล์การเล่นที่ดูโดดน่าสนใจคอมเมนต์เกมจาก www.gogameguru.com จึงติดตามมาให้ได้ชมกันหลากหลายเกมกันเลยทีเดียว


       เกมนี่เป็นเกมที่ 2 ของรอบรองชนะเลิศ ระหว่าง Lee Sedol 9p และ Choi Cheolhan 9p ในรายการ Samsung Cup ครั้งที่17 (ปี 2012).
       รอบรองชนะเลิศในรายการ  Samsung Cup เล่นแบบ ชนะ2ใน 3เกม


Lee Sedol (9 dan, ซ้าย) และ Choi Cheolhan (9 ขวา) รีวิวเกมของพวกเขาในรายการ Cupครั้งที่ 17

เกมการแข่งดุเดือด
       Lee Sedol ชนะมาได้ในเกมแรก นั้นหมายความว่าถ้าเขาชนะในเกมนี้ได้อีกเขาจะเป็นผู้เข้าไปในรอบชิงชนะเลิศ ในขนะเกมนี้แข่งอยู่นั้น  Lee Sedol เป็นอันดับ 2ของเกาหลี (ตามหลัง Park Junghwan) และ Choi Cheolhan เป็นอันดับที่3.

    ในรอบก่อนรองชนะเลิศ Leeเอาชนะ Chen Yaoye ส่วน Choi เอาชนะ Fan Tingyu

สถิติการพบกันระหว่าง  Lee Sedol กับ Choi Cheolhan
    Lee และ Choi พบกันมา 42 ครั้งมาแล้ว ตามสถิติ นำอยู่ Lee 25-17 


Commented game record :
Choi Cheolhan vs Lee Sedol




[link]
 ดำยอมแพ้ตรงนี้ 
      ดำเหลือที่ขู่โคะที่ A ส่วนขาวเหลือที่ B และ C 
     Choi พยายามอย่างดีที่สุดแล้วที่จะตามให้ทันหลังจากเล่นที่ D (สร้างโคะรอดมุมล่างซ้าย) แต่ Lee ไม่ยอมให้โอกาสใดๆกับเขาเลย
      ในความเห็นของผม (Younggil) ช่วงเปิดเกมเล่นที่ Eเร็วไป และ F เป็นหมากที่เป็นปัญหา ดำ G และ H เป็นหมากที่ผิดพลาด และหลังจากนั้เป็นเรื่องยากแล้วที่จะตามทันเมื่อเล่นกับLee Sedol.
    Lee แสดงให้เห็นถึงการเล่นที่ความอิสระและมีชีวิตชีวา จากสิ่งที่เห็น หลังจากเขาขึ้นนำแล้ว เขาป้องกันหมากรุกเร้าของ Choi ได้อย่างไร้ที่ติ 
     ผม  (Younggil) หวังว่าคุณคงสนุกไปกับหมากรุกเร้าและหมากกลของ  Choi และการป่องกันไร้ที่ติ และการสวนกลับของ  Lee
    ถ้ามีคำถ้าคุณมีคำถาม โปรดเขียนลงในComment ได้ตามสบาย
   ขอบคุณครับ
  An Younggil 8p
  http://gogameguru.com/

เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-choi-cheolhan-vs-lee-sedol-17th-samsung-cup/
Credit : http://gogameguru.com/
Translator : WalgnoK



เกมของ Lee Sedol มักจะเป็นเกมที่ซับซ้อนเสมอ ซึ่งยากแก่ฝีมือระดับผมจะอธิบายหรือจับหลักอะไรดีดีได้ แต่ในเกมนี้ผมอยากให้ศึกษาเรื่องการเปิดเกมที่เริ่มด้วยความไม่ซับซ้อน แล้วดูเหมือนเป็น Pattern ที่เคยได้รับรู้มาว่าเด็กจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ใช้ท่องจำไว้เพื่อเปิดเกมกันเลยทีเดียว

รูปแบบการเปิดเกม
เริ่มด้วย ดำล้อมมุม และขาวตอบโต้ด้วยป้อมจีน
ดำมีทางเลือกเล่นที่ A และ  B

ทางเลือก B เน้นไปยังโครงด้านขวา

เป็นรูปแบบที่ไม่ซับซ้อนนัก ดำอาจจะขยายด้านล่างต่อ หรือไม่ก็บุกตีขาวที่มุมบนในทันที

ทางเลือก A  เปิดพื้นที่ด้านบน สร้างโครงร่างพื้นที่เต็มกระดาน
ขาวต้องเลือกที่จะเข้าตีก่อนที่ดำจะปิดล้อมด้านขวาไปอีกด้าน

ถ้าขาวสไลด์เข้ามุม หวังจะรอดง่ายๆโดยไว

ถ้าดำเลือกที่จะปิดปิดขาวจะต้องขอบใจดำเป็นอย่างมากแต่..

ดำเลือกที่จะตีอย่างรุนแรงด้วยการเข้าประชิด
ผลที่ออกมาคือ ดำได้มือมาปิดล้อมทิศทางหลักของมุมล่างซ้าย

ขยายก่อน การขจัดทิศทางหลักของดำคือสิ่่งที่ขาวควรทำก่อน
ถึงตรงนี้ ดำควรเลือกที่จะผ่าที่ B ก่อนที่จะเล่นขยายพื้นที่ด้านล่างที่ A

ดำผ่าถามทาง
ขาวมีทางเลือกไม่มากนัก ระหว่าง เข้ามุม กับ ยอมให้ปิดมุม

ขาวลองเข้ามุม
ผลที่ออกมาขาวโดนฝังในมุมแถมด้วย ขาว 2หมากด้านนอกต้องเผชิญกับสนามพลังอิทธิพลอันแข็งแกร่งจากทั้ง 2 ฝั่ง

ขาวเล่นให้รอดก่อน
ดำจะได้เดินปิดมุมและขยายไปทางด้านล่างด้วย ดีกว่าเกมจริงมาก

เกมจริง ดำเลือกที่จะขยายด้านล่างก่อนผ่า
ขาวจึงเก็บเกี่ยวความผิดพลาดเล็กน้อยด้วยการกระโดดเข้ามุมดำ

ดำยอมให้กลับก็ง่ายเกินไป
ขาวรอดไปไร้ความกดดัน

ดำฝืนกักขังขาวไว้ในมุม
ขาวจะตัดออกมาแล้วหันคมดาบเข้าต่อด้วยหมาก 36 ตอนนี้เป้นดำซะเองที่ตกในวงล้อม

ดำจำใจปล่อย
ขาวไม่โดนปิดล้อมในมุม แถมด้วยความกดดันของขาว 2 หมากด้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด

     เราจะพบว่าไม่เพียงโจเซกิเท่านั้นที่เราต้องทำความเข้าใจ การเปิดเกมก็มีรูปแบบที่ต้องจดจำในรายละเอียดเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย การท่องจำไม่ได้มีประโยชน์เท่าความเข้าใจว่าความผิดพลาดอยู่ตรงไหนและจัดการอย่างไร  ตัวอย่างในเกมนี้ดำต้องมีแต้มตามขาวไปจนจบเก็บ และยอมแพ้ไปในที่สุด ขอให้สนุกกับการเล่นหมากล้อมกันนะครับ