วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Opening จากบันทึกโปร #23: ป้อมสามดาวต่ำ

    ในการเกมหมากล้อมเปิดได้ไม่จำกัดวิธีก็จริง แต่เนื่องจากโคมิในปัจจุบันมีผลอย่างมากในการเล่นของดำ จึงมีคนคิดค้นป้อมปราการออกมาอยู่เรื่อยๆ เพื่อจะกุมความได้เปรียบตั้งแต่การเปิดเกม ไม่ว่าจะเป็นป้อมซูซาคุในอดีตกาล ป้อมจีนสูง-ต่ำ ป้อมโคบายาชิ ป้อมจีนเล็ก และในเกมนี้เราจะได้เห็นป้อมอีก 1 ป้อมซึ่งไม่ค่อยจะคุ้นตากันสักเท่าไหร่  มาดูกันครับ

    เกมนี้เป็นเกมจากรายการ Meijin ครั้งที่ 28 เมื่อปี 2003 ในรอบชิงตำแหน่งกระดานที่ 4 ระหว่าง

หมากขาว Yoda Norimoto 9P
หมากดำ Yamashita Keigo 9P
Komi 6.5
รายการ Meijin Title ครั้งที่ 28
Date 2003-10-15

Commented game record





Commentator By Alexandre Dinerchtein 3P
http://www.go4go.net
Translator By WalgnoK

เรียนรู้จากบันทึกหมาก
ว่ากันก่อนด้วยเรื่อง โจเซกิ 4-4 จากเกมนี้


เริ่มจากดำมีหมากที่มุมขวา และดำเข้ามาตีมุมซ้ายของขาวด้วยตาม้าเล็ก


เริ่มต้น: จากขาวเลือกตีขนาบ และดำก็กระโดดขึ้น เนื่องจากดำคงไม่อยากให้ขาวได้อิทธิพลด้านนอกไปได้โดยง่ายจึงไม่เลือกที่จะเข้ามุม

ทางเลือกของขาว #1
โจเซกิที่นิยม : ขาว 4 กระโดด 1 ออกมาตามดำ เมื่อเล่นจนจบโจเซกิ ดำได้อิทธิพล ขาวได้ พื้นที่และมือนำ


ทางเลือกของขาว #2
ขาวเล่นตาม้า : ขาว5 ลองมารับด้วยตาม้า เมื่อดำค้ำบ่าที่ 6 แล้วขาวมีทางเลือกที่ A กับ B




ขาวเล่นที่ B :คล้ายกับโจเซกิแรก แต่หลังจากจบโจเซกิแล้ว เมื่อขาว 15ไปเล่นที่อื่น ดำสามารถกดค้ำบ่าขาว 5 ทำให้อิทธิพลดำใหญ่ขึ้นได้


ขาวเลือกเล่นที่ A: เมื่อเล่นออกมาแบบนี้ ขาวเหมือนจะได้มุมใหญ่และมือนำ แต่ต้องระวังเมื่อดำกิน A ดำจะเข้าไปรอดในมุมที่ B ได้


ทางเลือกของขาว #3

ขาวเตะ: ขาวเตะปิดมุมในทันที


ดำปักลง : ดำปักลงที่ 6 เมื่อจบโจเซกิ ขาวได้อิทธิพลทำลายความสัมพันธ์ดำขวาไปหมดสิ้น


ดำฝืน: จะเอาอิทธิพลทางด้านขวา แต่ผลที่ออกมากลายเป็นดำที่โดนล้อมเอาไว้




การรับที่ถูกต้อง : ดำต้องตอบรับการเตะของขาวด้วยการกระแทกหมากที่ 6 ผลออกมาแบบนี้ดำดูดีกว่าเลยทีเดียว

เป็นป้อม 3 ดาวต่ำที่ผมไม่ค่อยได้พบเจอสักเท่าไหร่ แม้ว่าดำป้อมจะแตกพ่ายแพ้ไป แต่ก็แพ้เพียงเล็กน้อย และยังคงทิ้งโจเซกินี่น่าสนใจไว้ให้เราได้ศึกษากันอีกด้วยนะครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น