วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Go Commentary #2:Shi Yue vs Lee Sedol – 17th LG Cup

       สวัสดีครับนักหมากล้อมทุกคน จากเกมแรกที่ได้แปลลงไปใน Blog Road to 3 Dan ต้องยอมรับเลยว่า An Younggil คอมเมนต์เกมได้อย่างละเอียดมาก ทำให้เราได้ความรู้มากเลยทีเดียว ส่วนทางผู้เขียน Blog คงนำจุดเด่นๆ ของเกมออกมาให้ศึกษากันและเพิ่มเติมความคิดเห็นเข้าไปอีกนิดหน่อยนะครับ

ก่อนไปดูคอมเมนต์กัน ผมมีโจทย์มาฝากจากเกมนี้
      
ขาวเดินเพื่อรอดนะครับ 


ส่วนคำตอบเข้าไปดูเฉลยในเกมจริงได้ An Younggil เฉลยไว้ได้ละเอียดจริงๆ


        ส่วนเกมนี้เป็นในรายการแข่งขัน LG Cup ครั้งที่ 17 รอบที่2 เป็นรายการระดับโลกซึ่งยังเกมกันไม่จบด้วยในปีนี้ (2012) เกมที่ An Younggil นำมาคอมเมนต์ในครั้งนี้เป็นการกลับมาของเจ้าชายแห่งวงการหมากล้อม  Lee Sedol (9p) กับดาวรุ่งแห่งวงการหมากล้อมจีน Shi Yue (5p)


                   Lee Sedol (9 dan,ซ้าย) พบกับ Shi Yue (5 dan)ในรายการ LG Cup ครั้งที่ 17

Lee Sedol
         Lee Sedol มีคะแนนเป็นอันดับ2 ของเกาหลีในปัจจุบัน(ตามหลังPark Junghwan (9p)) แต่หลังจากกระดานนี้จบลง เขากลับขึ้นเป็นอันดับ1 เขาเป็นผู้เล่นในระดับโลกที่น่านับถือเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่ดูเหมือว่าเขาจะฝีมือตกลงในปัจจุบัน 

Shi Yue
ชื่อของShi Yueไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่เขาเป็นถึงอันดับ 5 ของจีน เขาได้แชมป์รายการ Xinren Wang (Rookie Cup) ครั้งที่16 และในปัจจุบัน ได้อันดับ 2ในรายการ Dachongjiu Cup ครั้งที่1 (เป็นการแข่งกันของอันดับ 1-16 ของจีน)

เกมนี้เป็นเกมที่ 3ของทั้งคู่ที่พบบกัน และ Lee Sedol ชนะทั้ง 2เกมในปี 2008 และ 2012 ในเกมที่2ของพวกเขาพบกันในรายการSamsung Cup  ,Shi เล่นได้เหนือว่าตลอดทั้งเกม แต่ Lee พลิกสถานการณ์กลับมาได้ในช่วง Endgame แล้วก็ชนะไป

เรามาดูเกมที่ 3 กันเลย
Commented game record: Shi Yue vs Lee Sedol



[link]Raw Eng.
คอมเมนต์หลังเกม
             ขาวเล่นต่อไม่ได้ ถ้าขาวเล่นที่ A ดำจะตัดที่ B และขาวไม่สามารถที่จะจับกินได้ ดำชนะจากแต้มที่ขาดลอยในตอนนี้

  เกมเริ่มต้นขากการต่อสู้ที่น่าสนใจ ขาวC เป็นความผิดพลาดที่สำคัญ และการปิดล้อมที่ Dเป็นหมากที่ยอดเยี่ยม 

หลังจากนั้นลำดับหมากดูเหมือนจะเป็นหมากบังคับอย่างที่ดีที่สุดต่อขาว และรูปเกมก็ออกมาดีต่อดำ จนกระทั้งขาวต้องเอาชีวิตรอดในมุมด้วยหมาก E เป็นเกมที่ออกมาดีต่อดำอย่างแท้จริง 

Lee พยายามอย่างหนักที่จะไล่จับไล่ตาม แต่ การเล่นของ Shi น่าอัศจรรย์มาก และไม่มีจุดผิดพลาดเลย การเล่นของShi Yueในเกมนี้มหัศจรรย์อย่างแท้จริง และLee Sedol ไม่สามารถหาโอกาสได้เลยหลังจากดำสไลด์เข้ามาที่ F

ในรอบต่อไป (รอบ 8คนสุดท้าย) ของรายการ LG Cup ครั้งที่17 จะเริ่มในวันที่ 5/11/12 Shi Yue จะพบกับ Na Hyun 2p จากเกาหลี  Na Hyun เป็นนักหมากล้อมดาวรุ่ง ในเกาหลีเช่นกัน ดังนั้นน่าจะเป้นเกมที่น่าสนใจและสนุกสนานเลยทีเดียว 

ผม(Younggil)หวังว่าคุณจะเข้าใจเกมนี้ดีขึ้นจากการอ่านคอมเมนต์ และสอบถามได้ตามสบาย
ขอบคุณ

An Younggil 8p 
http://gogameguru.com/
เกี่ยวกับ An Younggil (8p) ผู้คอมเมนต์
An Younggil เป็นนักหมากล้อม 8P จาก Korean Baduk Association เขาได้รับรางวัล 'Prize of Victory of the Year' ในปี 1998 ด้วยการชนะโปรเกม ติดต่อกัน 18 ครั้ง หลังจากที่เขาพ้นจากการเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ Younggil เดินทางออกจากเกาหลี เพื่อทำการสอนและประชาสัมพันธ์หมากล้อมในต่างแดน  ตอนนี้Younggil เปิดโรงเรียน  Younggil's Go School ซิดนี่ ออสเตเรียและ เป็นนักเขียนที่ Go Game Guru. คุณสามารถพบกับ Younggil ใน  Google+ และ ติดตาม Go Game Guru ได้ที่ FacebookGoogle+ และ Twitter.
Link article http://gogameguru.com/go-commentary-shi-yue-vs-lee-sedol-17th-lg-cup/
Credit : http://gogameguru.com/

Add-on


      จากเกมนี้เราได้ศึกษาการเปิดเกมแบบป้อม 3ดาวจีนต่ำ และการเข้าโจมตีในอีกรูปแบบนึงซึ่งน่าจดจำรวมไปถึงโจทย์หมากเป็นหมากตายที่มุมอันน่าสนใจในกระดาน ผมเลยดึงมาเป็นความรู้จากเกมโปรให้ดูกันครับ



ป้อม 3 ดาวจีนต่ำโดยปกติจะเปิดมาในรูปแบบนี้ ดำ 1-3-5 เป็นป้อม 3 ดาว


ป้อม 3ดาวจีนต่อ (ถ้า 3 ดาวจีนสูง หมากดำ 5 จะเล่นที่ Q9)


การเข้าโจมตีของขาวโดยพื้นฐานเล่นทั่วๆได้แบบนี้
ขาวเล่นตามโจเซกิแบบนี้เพื่ออาศัยหลักการให้ขาวรอดไปในมุม จะได้ไม่ต้องห่วงอีก ส่วนดำเข้าจู่โจมที่ C14 เป็นหมากสำคัญเพื่อทำลายโครงสร้างขาว

ยังมีการเข้าตีได้อีกหลายแบบศึกษาป้อม 3 ดาวจีนต่ำจาก นิตยสาร Weiqi Tiandi 
โดย Wang Jiankun 7P กับ Shi Jin Bo 3P ผู้คอมเม้นต์ และ เรียบเรียง โดย ธนพล เตียวัฒนานนท์ (ณฐ) โดยละเอียดได้ที่ http://thaigogenius.com/index.php/comment-games-by-/item/2073-chinese_opening


เกมจริง ดำมีการแลกเปลี่ยนที่มุมล่างซ้ายก่อนไปสร้างป้อม 3 ดาวจีนต่ำ


 สำหรับคนชอบ Fighting
ขาวเลือกที่จะเตะ และตีขนาบ แล้วคงจะต้องวิ่งออกไปพร้อมๆกัน

ขาวเลือกที่จะตีมุมด้านขวาบน 
ส่วนดำเข้าโจมตีโครงสร้างของขาวที่มุมซ้ายบนด้วย ดำ 13 ขาวมีทางตอบรับที่ A กับ B

ขาวตอบรับที่ B
เป็นสิ่งที่ดำอยากให้เป็น ดำได้ขยายที่ 2 และ 4 ดำดูดีกว่าขาวมาก

ขาวตอบรับที่ A
ขาว 14 เป็นหมากที่เล่นได้ในกรณีที่มี ขาว 12 ด้านบน และขาว 16 ด้านซ้าย อยู่ที่เส้น 3 รูปเกมก็จะออกมาซับซ้อนกันเลยทีเดียวจนทำให้ดำยังคงไม่มีเวลากลับไปสร้างโครงสร้างด้านล่างได้

สุดท้ายในเกมนี้เราก็ได้เห็นป้อม 3 ดาวจีนต่ำ ที่มีการพัฒนาการเล่น และการตอบโต้ไปอีกขั้น มีLinkเกมที่เล่นคล้ายๆกัน ระหว่าง Lee Changho กับ Mi Yuting ซึ่งมี An Younggil เป็นผู้คอมเมนต์เช่นกันครับ
  ผมก็หวังเช่นเดียวกันกับ  An Younggil ว่าการแปลบทความแบบนี้จะทำให้นักหมากล้อมไทยที่ได้อ่านพัฒนาฝีมือขึ้นได้นะครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น