วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

comment Game Shusaku cup-2009

Shusaku cup-2009

White: Oh Chimin, 7-dan
Black : Ondej Silt, 6-dan
Komi 6.5
Result W+R in turn 148

commentator: Alexander Dinerchtein
โคบายาชิ Opening
รูปเกมของดำ เปิดด้วยคล้ายๆป้อมโคบายาชิ ขาว 8เข้าแบบป้อมโคบายาชิ ดำเล่นจนถึง 11 เป็นการตีตามรูปแบบป้อมโคบายาชิแบบนึง


เมื่อเกมดำเนินถึงดำ 15 ตรงมุมล่างขวา ขาวมีทางเลือกสองทางคือ กระโดดที่ A หรือ สร้างฐานที่ B


ทางเลือก B Standaze Joseki
ถ้าขาวเลือกที่B ก็จะมีรูปแบบมาตรฐานสูตรมุมออกมา โดยคนส่วนมากคิดว่าดำดีกว่า

ในเกมจริงกระโดด ลดทอน
ในเกมจริงขาวเลือกเดินที่ A เมื่อดำขู่ตัดที่ B13 แล้วขาวเชื่อม ดำมีทางเลือก Aและ B


ทางเลือก B รูปแบบเก่า
ถ้าดำเลือกเดินที่ B จะสามารถเล่นในรูปแบบเก่า ผลที่ออกมา ดำยังสามารถยอมรับได้

ทางเลือก A (D12):เป็นการเดินที่เฉียบคม
ดำเดินต่อขึ้นที่ D12 เป็นรูปแบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมาจากเกาหลี ประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา
ถ้าขาวเลือกที่จะตีหัวเพื่อเพิ่มหมากแล้วรุกกลับเข้าที่ G16 ถึงการตอบรับจะค่อนข้างซับซ้อนขึ้นแต่ตามตัวอย่าง ดำก็มีหมากเด็ดที่สู้แล้วทำให้ขาวเล่นได้ยากลำบาก


ขาวสร้างทางเลือก
ขาวเล่น หมาก 20 ที G12 เพื่อไม่เลือกที่จะช่วยให้ดำแข็งแรงด้านใดด้านหนึ่ง
มีจุดประสงค์เข้าบ้านดำด้านล่างหรือล้อมดำสามหมากข้างกระดาน

ดำควรจะเล่นที่ B จะดีกว่าในเกมจริงดังรูป

เพราะขาวจะต้องระวังดำตัดที่G14 โดยมี ดำB(G16) ช่วยในการตัดครั้งนี้



หรือถ้าขาวถอยกลับ ดำก็จะมีลักษณะหมากที่ดีพอที่จะโจมตีขาวทั้งสองฝั่งได้


ดำเดิน A (H16) ความรุนแรงจางหาย



หลังจากที่ ดำเดินที่ A ขาวทำการโจมตีกลับด้วยหมาก22 เมื่อดำค้ำบ่าที่ 23 ขาวจึงกลับมาจัดการเพิ่มหมากเพื่อลบรอยตัด โดยการโจมตีกระแทกหัวที่ 24 ดำ25 เป็นหมากที่ผิดผลาดควรรับง่ายๆที่ G16 การเดินที่ G15จึงเป็นการช่วยขาวขจัดรอยตัดอย่างสมบูรณ์ รวมถึงการได้มือนำมานำมาโจมตีต่อที่D10



เสียสละคือการแก้ปัญหา


ดำต้องแก้ไขสถานะการด้วยการเล่นที่ B (F12) เมื่อขาวทำการตัดดำข้างกระดาน 3เม็ดออกได้ ดำจะได้มือนำมาเดินที่ O13 รูปแบบนี้น่าจะดีต่อดำมากกว่าเกมจริง
เกมจริง ดำถอยเชื่องช้าไป

ดำเดินถอยกลับที่ A เป็นหมากที่ไม่ดี ขาวเดินควรโจมตีมุมด้วยหมาก 32 ที่ C6 แต่ขาวก็พลาดเช่นกันกับการเดินถอยแสดงเจตนาเพื่อเชื่อมขาวเข้าด้วยกัน ดำ33 เป็นการลงโทษอย่างถูกต้อง เมื่อเดินถึงขาว 36 ขาวก็รอดอย่างแน่นอนแล้ว จากรูปจะเห็นได้ว่าการที่ขาวรอดแล้ว ดำตรงกลางเล่นไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ถ้าขายไปในเวลานี้ยังเล็กมาก การเดินโจมตีมุม ที่ B จึงน่าสนใจกว่า

เกมจริงดำแบกภาระ
แต่ในเกมจริง ดำไม่ยอมทิ้งกลุ่มหมากกลางกระดาน ทำให้ขาวได้มือมาโจมตีที่ 46 และ 48 เมื่อเล่นถึงขาวที่ 56ดำก็ยังควรที่จะขายกลุ่มหมากกลางกระดานไปเล่นB(E3) อยู่ดีจะได้ดังรูป ซึ่งน่าจะดีกว่าเกมจริง ตามรูป





เกมจริง ทางแห่งการตัดสินใจ

ดำยังพลาดได้อีกเมื่อตัดสินใจหนีออกมาด้วยหมาก 57 เมื่อถึงขาว60 ดำควรต้องรีบเดินที่ H8 เชื่อมหมากกันไว้ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ออกมาแบบพอที่จะเล่นกันต่อได้

เกมจริง ขาดสะบั้น

เมื่อขาวได้เดินที H8 แล้วขาวก็วกกลับไปตัดดำเป็นสองกลุ่มด้วยหมากขาว 66และ 68 เมื่อขาวเชื่อมกลับบ้านที่ 78 ดำก็เกิดกลุ่มอ่อนแอให้สองกลุ่มทันที
ถึงตอนนี้ดำควรเลือกเชื่อมที่ B(J5) จะทำให้สามารถโจมตีขาวได้และยังได้มือมาโจมตีมุมซ้ายบนได้ด้วย ซึ่งจะดีขึ้นอีกเล็กน้อย ตามรูป



เกมจริง ทำลาย aji ของตัวเอง


แต่เมื่อดำ79ต่อลงที่ A เป็นการลด aji ของขาวไป ทำให้ขาวรอดได้โดยง่ายและดำยังต้องเสียมือมาเดินเชื่อมหมากที่ K6 อีกด้วย ทำให้ขาวได้เดิน 84 กับ94 ตัดดำออกจากกัน การโจมตีที่ทำให้ดำยากที่จะกลับมาอีกเลยคือหมากขาวที่ 96 ที่เล่นที่ O3


เกมจริง หมากเด็ดชิ้นสุดท้าย


หลังจากนั้นดำพยายามลองฆ่าขาวที่มุมบนขวาดูด้วยหมาก 127

แต่เนื่องจากดำที่มุมอ่อนแอเกินไปเมื่อปะทะกันถึงหมากที่ 148 ผลคือขาวรอดด้วยเซกิ แต่ดำกลุ่มบนไม่มีห้องเลยไม่เป็นเซกิโดยสมบูรณ์ ดำจึงได้โยนหมากยอมแพ้ลงในตานี้




วิเคราะห์เพิ่มเติม
โจป้อมโคบายาชิ จริงจริง ก็ไม่ได้ใหญ่จนเกินไปไม่ต้องรีบเข้าไป
หมากดำกลางกระดานสามารถขายได้หลายครั้งเมื่อเดินแล้วไม่มีอะไรดีขึ้น ก็ทิ้งมันไปซะ
ลักษณะหมากเล็กๆน้อย เช่นการเชื่อมหมาก การวางต่างไปจุดนึง กลับเป็นความละเอียดอ่อนที่ส่งผลรุนแรงได้
สุดท้ายท้ายสุด การพลิกเกมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ขาวเองพลาดเหมือนกันแต่ดำเก็บเกี่ยวได้น้อยกว่าที่ขาวได้จากความผิดพลาดของดำ
อ้างอิง www. gogame.info IGN "Goama", issue #122

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น